17 สิงหาคม 2566

คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล 17/08/2023


(เพื่อยุวจิตจักรวาลยุคสุดท้าย)
 
พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
 
การเป็นมนุษย์ผู้มี “จิตใสใจสวย” นั้น
หมายถึงผู้ที่จะต้องมีคุณสมบัติ 6 ประการ
ตามที่เรากล่าวไว้ในบทที่ผ่านมาแล้ว คือ
1.หมุนธรรมจักรในตนเองได้
2.ไม่ปิดอายตนะภายนอกของตนไว้
3.ใช้ขันธ์ห้าได้อย่างถูกต้อง
4.ใช้ปัญญาของสมองเป็น
5.นึกให้เป็นเพื่อคิดให้เป็น
6.ต้องคิดด้วยสมองสองซีกให้เป็น
 
โดยในบทที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึง
หลักการคิดด้วยสมองซีกซ้าย” เอาไว้ว่า
 
1.คุณต้องทำจิตให้สงบและว่างจากทุกสิ่งก่อน
2.คุณต้องรู้ว่าปัญหานั้นมันมีอะไรบ้าง
3.อย่าเกลียดกลัวปัญหา
 
ในบทนี้เราจะกล่าวถึง
หลักการใช้สมองซีกซ้ายในประการที่ 4 ต่อไป
 
4.#ต้องกดปุ่มใช้สมองซีกซ้ายให้เป็น
 
ในที่นี้เราจะแนะวิธีใช้สมองซีกซ้ายแบบ “กดปุ่ม”
เพราะสมองซีกซ้ายนั้นมีระบบอัตโนมัติให้คุณใช้
ตั้งแต่อายุครบสามขวบปีบริบูรณ์เป็นต้นมาแล้ว
แค่จิตหยาบคุณเกิดอารมณ์รู้สึกและมีสามนึกขึ้นมา
สมองซีกซ้ายก็จะทำงานร่วมกันกับจิตได้แล้ว
 
ถ้าคุณจะคิดรู้ด้วยสมองซีกซ้ายในระบบกดปุ่มนั้น
คุณจะต้องทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมันก่อน
โดยความฉลาดของสมองซีกซ้ายของมนุษย์โลก
ที่ต้องใช้ในการคิดพระเจ้าทรงเรียกว่า #สติปัญญา
คำว่า “สติปัญญา” คือความฉลาดที่ได้ขณะมีสติ
คำว่า “มีสติ” หมายถึง จิตหยาบที่มีพลังฌานสูง
พลังฌานสูงจะสั่นสะเทือนสมองซีกซ้ายได้สูงด้วย
เมื่อสมองสั่นสะเทือนความถี่สูงพลังการคิดก็สูงตาม
นั่นคือความฉลาดทางปัญญาที่เรียกว่าญาณก็จะสูง
ในลักษณะของ “ฌาน” สูง “ญาณ” ก็สูงตามไปด้วย
 
พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงนี้
จึงแนะให้พวกคุณปฏิบัติสมถะกรรมฐานเป็นขั้นต้น
ด้วยการฝึกการควบคุมจิตสามนึกให้มันสงบเสียก่อน
เพราะจิตสามนึกมี 189 กลุ่มซึ่งทำหน้าที่ต่างๆกันไป
ถ้าสามารถจัดการให้มันทำหน้าที่ใดๆร่วมกันได้
จิตหยาบของคุณในปัจจุบันขณะก็จะมีพลังร่วมสูง
พลังจิตที่เป็นพลังงานร่วมสูงสุดที่เข้าถึงได้นี่แหละ
พระเจ้าทรงเรียกว่า “พลังฌาน” หรือเรียกสั้นๆว่าฌาน
โดยพลังฌานจะเกิดได้จากการรู้สติตลอดเวลา
 
เมื่อฝึกจิตในการสร้างพลังร่วมได้แล้ว
ก็จะใช้พลังฌานที่ได้ดังกล่าวมาฝึกในขั้นตอนต่อไป
เพื่อใช้ฌานเป็นพลังอำนาจในการ “กำหนดนึก”
การกำหนดนึกก็คือการที่จิตสั่งให้สมองคิดนั่นเอง
พระพุทธองค์ทรงเรียกขั้นตอนนี้ว่าวิปัสสนากรรมฐาน
 
ทั้งวิธีสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
เป็นปฏิบัติการทางเท็คนิกที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ
เพื่อให้ประดาพุทธบริษัทหรือชาวพุทธทั้งหลาย
นำไปฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงอำนาจทางปัญญาของสมอง
ให้สมกับการเป็น #พุทธะ ผู้มากมีสติปัญญานั่นเอง
 
แต่มาภายหลังคนนำทางตาบอดหลงผิดเข้าใจผิด
จนนำพาพุทธบริษัททั้งชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย
ไปหลงยึดติดกับรูปแบบวิธีปฏิบัติกรรมฐานเหล่านี้เข้า
คนชอบ “ธรรม” จึงกลายเป็นคนชอบ “ทำ” มาจนบัดนี้
เพราะเข้าใจผิดคิดว่าการนั่งปิดอายตนะปลีกวิเวก
เพื่อเพ่งจิตตนเองที่ปกติจะมีนิสัยซุกซนเหมือนลิง
ทำให้มันอยู่นิ่งสงบดั่งการเอาหินทับหญ้าไว้ชั่วครู่นั้น
เป็นรูปแบบของการปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ไป
เนื่องจากไม่รู้ว่าพระองค์ทรงทำอย่างนั้นเพื่ออะไร
 
แท้จริงแล้วการปลีกวิเวกปิดอายตนะที่คุณเห็นภาพ
มันคือการใช้เวลาส่วนตัวเพื่อฝึกการควบคุมจิต
วิธีควบคุมจิตคือการทำให้มันสงบนิ่งเพื่อให้จิตว่าง
เมื่อจิตว่างจากทุกสิ่งได้อย่างแท้จริงเรียบร้อยแล้ว
พระองค์จึงค่อย “วาง” คำสั่งลงไปด้วยการกำหนดนึก
โดยจิตกำหนดนึกเพื่อสั่งการให้สมองคิดไปตามนั้น
 
ว่างเมื่อใดก็จะใช้เวลานั่งปฏิบัติสมถะกรรมฐาน
เพื่อฝึกทักษะของจิตหยาบให้เกิดพลังฌานเอาไว้ใช้
หากฝึกทักษะเป็นประจำจะทำให้มี “ฌาน” สูงขึ้นได้
จิตที่มีพลังฌานสูงๆนั้นนอกจากจะต้องฝึกบ่อยๆแล้ว
ยังจะต้องฝึกหมุนธรรมจักรด้วยความรักเพื่อให้ด้วย
โดยรักเพื่อให้ก็คือการอดทนอดกลั้นและการให้อภัย
รักเพื่อให้คือเมตตากรุณามุทิตาและอุเบกขา เป็นต้น
 
วิธีกดปุ่มใช้สมองซีกซ้าย
 
1.นำสิ่งที่สัมผัสรู้ดูเห็นนั้นมากำหนดประเด็น
ด้วยการนึกเพื่อตั้งคำถามตนเองว่า “อะไร”
เช่น นั่นอะไร นี่อะไร คืออะไร เป็นอะไร ไว้ก่อน
เพราะคำถามแนวนี้คือการเริ่มต้นเรียนรู้นั่นแหละ
 
2.เมื่อคุณรู้ว่าสิ่งนั้นเรื่องนั้นคืออะไรเป็นอะไรแล้ว
ให้เลือกเอาเฉพาะสิ่งที่คุณควรเรียนรู้มานึกคิดต่อ
สิ่งใดเรื่องใดไร้สาระไม่น่าเรียนรู้เพราะรู้ดีอยู่แล้ว
หรือไม่ควรเรียนรู้เพราะไม่ใช่หน้าที่ของตัวที่จะสู่รู้
ก็ควรปล่อยวางมันคุณจะได้ไม่เสียเวลาไปกับมัน
 
จงอย่ายอมให้ความอยากรู้อยากเห็น
ชักพาให้คุณไปสนใจในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น
จนทำให้คุณ “จิตตก” เพราะจิตไม่สงบ
เนื่องจากรับรู้แล้วเกิดกิเลสตัณหาจนจิตเสียสมดุล
เมื่อจิตเสียสมดุลคุณก็จะก้าวล่วงผู้อื่นให้ผิดบาปได้
เพราะยามนั้นจิตคุณกำลังไร้สติคอยควบคุมมันไว้
คุณจะนึกไปเรื่อยเปื่อยจนไม่อาจกำหนดนึกได้อีก
 
3.นึกคิดอย่างมีหลักการและเหตุผล
เรือทุกลำที่ลอยอยู่ในน้ำนั้นไม่ว่าลำใหญ่หรือเล็ก
เมื่อต้องการจะจอดก็ต้องทอดสมอหรือผูกไว้กับหลัก
สมอที่ทอดลงไปนั้นเชือกต้องยาวมากพอ
เพื่อทิ้งสมอให้ดิ่งลงไปจนถึงก้นแม่น้ำเลยทีเดียว
เสาหลักที่จะผูกล่ามเรือก็ต้องปักเอาไว้ให้แน่น
เชือกที่ผูกพันไว้กับหลักนั้นก็ต้องผูกพันให้แน่นด้วย
 
หลักการในการคิดแต่ละเรื่องก็เช่นเดียวกัน
มันมีความสำคัญในการใช้สมองซีกซ้ายโดยตรง
คำว่า “หลักการคิด” หรือ หลักคิดที่ว่านี้หมายถึง
 
#คุณจะเลือกใช้ใครเป็นหลักในการคิด
ถ้าใช้ตนเองเป็นหลักมันคือ #วิธีการคิดเพื่อจะเอา
ถ้าใช้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นหลักมันคือ #วิธีคิดเพื่อจะให้
ถ้าใช้สังคมเป็นหลักมันคือ #วิธีคิดเพื่อจะเสียสละ
 
#คุณจะใช้เหตุผลรองรับมันว่าอย่างไร
การคิดด้วยสมองซีกซ้ายต้องการเหตุผลเป็นสำคัญ
พระพุทธองค์ทรงเรียกการคิดแบบนี้ว่าอิทัปปัจจยตา
หลักการคิดก็คือเพราะว่ามันมีสิ่งนั้นจึงมีสิ่งนี้
เพราะสาเหตุเป็นแบบนั้นผลลัพธ์มันจึงเป็นแบบนี้
หรือถ้าไม่มีสาเหตุแห่งการเกิดผลลัพธ์ย่อมไม่เกิด
ถ้าเหตุดับทุกสิ่งทุกอย่างอันเกิดจากเหตุก็จะดับตาม
นี่คือหลักของเหตุและผลหรือ “อิทัปปัจจยตา” ทั้งสิ้น
 
4.นึกคิดในโลกแห่งความเป็นจริง
วิธีกดปุ่มคิดด้วยสมองซีกซ้ายอีกอย่างหนึ่งซึ่งต้องรู้
นั่นคือคุณต้องมองภาพนั้นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง
เพราะคุณกำลังคิดวิเคราะห์แยกแยะในรายละเอียด
เท่าที่คุณจะสามารถเข้าถึงความจริงของสิ่งนั้นได้
 
ถ้าคุณมองแบบเพ้อฝันหรือจินตนาการ
คุณก็จะเจอแต่ภาพลวงตาหรือมายาซ้อนมายาแทน
จะยังผลให้การเรียนรู้ความจริงของสิ่งนั้นผิดพลาด
จนคุณไม่อาจจะเข้าถึงความจริงของสิ่งนั้นได้
 
การเรียนรู้ด้วยการรับฟังด้วยหูก็ไม่ต่างกันเลย
ซึ่งคุณจะต้องรับฟังไปตามความเป็นจริงเท่านั้น
นั่นคือรับฟังแต่ข้อมูลเรื่องราวเฉพาะที่เป็นสาระไว้
แล้วคัดแยกขยะที่ไร้ค่าไร้ประโยชน์ทิ้งไปให้หมด
ขยะไร้ค่าก็คือสิ่งที่จะทำให้จิตคุณเสียสมดุลนั่นเอง
 
การใช้เหตุผลรองรับการนึกคิดด้วยสติปัญญาที่ว่านี้
จะต้องอยู่บนหลักการและพื้นฐานที่เป็นจริงได้ด้วย
นั่นคือมีความสมเหตุสมผลมีความเป็นเหตุเป็นผล
ที่คนทั่วไปในสังคมทุกคนเข้าใจได้และยอมรับได้
โดยเหตุและผลนั้นมิใช่ตัวคุณรับได้อยู่แค่คนเดียว
จากเหตุผลมันจะกลายเป็น #ข้ออ้างส่วนตัว ทันที
ซึ่งคุณจึงต้องระวังในประเด็นนี้เอาไว้ด้วย
ที่สำคัญก็คือคุณต้องฝึกให้เป็นคนที่มีเหตุผล
และสามารถใช้เหตุผลเป็นอีกต่างหากด้วย
 
5.กำหนดคำถามให้สมองคิดต่อด้วยคำถามว่า
ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไรและทำไม”
เมื่อได้รู้คำตอบเบื้องต้นแล้วว่า “อะไรเกิดขึ้น”
 
ธรรมดาของมนุษย์นั้น
เมื่อพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาตนเอง
คำถามแรกคือ “ใครทำวะ?” ด้วยการถามหาตัวตน
โดยไม่ถามว่าตนจะมีส่วนร่วมแก้ปัญหานั้นได้ยังไง
โดยไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ว่าปัญหาคืออะไรอย่างไร
คำกล่าวสุดท้ายก็คือ “กูไม่เกี่ยวเว้ยเฮ้ย!” เสมอ
 
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อไหร่สิ่งที่ถูกต้องก็คือ
ต้องยอมรับว่าปัญหานั้นเป็นเรื่องของส่วนรวม
ไม่ว่ากูหรือมึงหรือใครเป็นคนก่อปัญหานั้นขึ้นมา
มันจะมีผลกระทบต่อส่วนรวมก็คือทุกคนทั้งสิ้น
การร่วมด้วยช่วยกันคิดอ่านแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ
แม้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวพ่อแม่ลูก
จะปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวกูไม่ได้ทำนั้นไม่ได้แน่นอน
 
หลักการและวิธีคิดเพื่อกดปุ่มใช้สมองซีกซ้ายนั้น
มันจะมีระเบียบวิธีคิดอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
เป็นการคิดพิเคราะห์อย่างมีเหตุผลทั้งสิ้น
รวมเรียกว่าเป็นวิธีการคิดอยู่ภายในกรอบนั่นเอง
 
สื่อถ่ายทอดคลื่นความคิดในระบบจิตสู่จิต
จากองค์จิตจักรวาลดวงใหญ่
 
ปัญญาวิสุทธิ์
17/08/2566