16 สิงหาคม 2566

คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล 16/08/2023


(เพื่อยุวจิตจักรวาลยุคสุดท้าย)
 
พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
 
การเป็นมนุษย์ผู้มี “จิตใสใจสวย” นั้น
หมายถึงผู้ที่จะต้องมีคุณสมบัติ 6 ประการ
ตามที่เรากล่าวไว้ในบทที่ผ่านมาแล้ว คือ
1.หมุนธรรมจักรในตนเองได้
2.ไม่ปิดอายตนะภายนอกของตนไว้
3.ใช้ขันธ์ห้าได้อย่างถูกต้อง
4.ใช้ปัญญาของสมองเป็น
5.นึกให้เป็นเพื่อคิดให้เป็น
 
6.ต้องคิดด้วยสมองสองซีกให้เป็น
 
โดยในบทที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึง
หลักการคิดด้วยสมองซีกซ้ายว่า
1.#คุณจะต้องทำจิตให้สงบให้ได้เสียก่อน
 
เพราะ “จิตสงบ” หมายถึงจิตว่างจากทุกสิ่ง
ทั้งอารมณ์รู้สึกนึกคิดในจิตปัจจุบันนั้นจะต้องไม่มี
เพื่อให้จิตกับสมองทำการ “นึกคิด” เรื่องเดียวได้
อันเป็นวิธีสร้างพลังฌานให้เกิดพลังปัญญาสูงๆ
ที่คุณจะสามารถเข้าถึงคำตอบสุดท้ายได้ดียิ่งขึ้น
 
2.#ต้องรู้ว่าปัญหานั้นมีอะไรบ้าง
 
คำว่า “ปัญหา” หมายถึงอุปสรรคหรือข้อขัดข้อง
ที่คุณต้องเผชิญหน้ามันและฟันฝ่าหรือข้ามผ่านไป
ด้วยวิธีการที่ตัดสินใจแล้วว่าถูกต้องเหมาะสมดีงาม
จนสามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวนั้นให้ลุล่วงได้
 
ที่ต้องเรียกว่า “ปัญหา” ก็เป็นเพราะว่า
เหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นๆจัดการแก้ไขได้หลายวิธี
ซึ่งตัวคุณจะต้องใช้กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ
เลือกเอาหนึ่งในหลายๆวิธีที่คิดได้มาจัดการกับมัน
ปัญหาของคุณอยู่ตรงที่ว่าจะตัดสินใจเลือกใช้วิธีใด
ในหลายๆวิธีที่คิดไว้เอามาใช้แล้วได้ผลนั่นเอง
 
เราจะกล่าวความจริงให้คุณรู้ว่า
ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นชีวิตและงานของคุณ
ในบางครั้งบางสถานการณ์คุณจะพบว่า
ปัญหาที่คุณเผชิญนั้นมันเป็นเพียงแค่อุปสรรค
เป็นแค่ข้อขัดข้องธรรมดาที่ทำให้ไม่ราบรื่นเท่านั้น
ถ้าคุณรู้ว่าปัญหานั้นมันคือข้อขัดข้องอะไรตรงไหน
ก็แก้ไขไปตามความจริงคุณก็จะผ่านพ้นมันไปได้
 
แต่ในบางสถานการณ์นั้น
มันมีปัญหาหลายๆปัญหาทับซ้อนกันอยู่
คุณก็จะต้องแยกให้ออกหรือมองให้เห็นก่อนว่า
ปัญหาทั้งหมดนั้นมันมีอะไรบ้าง
ปัญหาใดมาก่อนมาหลังและสัมพันธ์กันอย่างไร
เมื่อรู้ได้แล้วว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง
ก็จงนำเอาปัญหาทั้งหมดนั้นมาจัดเรียงลำดับกัน
 
วิธีจัดลำดับปัญหาก็คือจัดเรียงตามลำดับก่อนหลัง
เพื่อจัดการขบคิดแก้ไขกันไปทีละปัญหา
อย่าใช้วิธีคิดแบบ “มวยวัด” คือคิดแบบสะเปะสะปะ
โดยหยิบเอาปัญหาที่ต้องคิดแก้ไขทีหลังมาคิดก่อน
หยิบเรื่องที่ต้องคิดแก้ไขก่อนเอาไปคิดแก้ไขทีหลัง
จะทำให้เปลืองพลังสมองโดยใช่เหตุคิดจนเครียด
เหตุเพราะไม่มีวินัยในการใช้ความคิดนั่นเอง
 
เมื่อคุณรู้ปัญหาและจัดเรียงลำดับปัญหาได้แล้ว
ก็ให้คุณคิดหาวิธีจัดการแก้ไขปัญหาแต่ละปัญหา
โดยการคิดให้ได้หลายๆวิธีเพื่อการเปรียบเทียบว่า
วิธีการใดจะสะดวกใช้และใช้แล้วจะได้ผลมากที่สุด
ปัญหานั้นจัดการแก้ไขได้วิธีเดียวหรือต้องมากกว่า
วิธีใดใช้แก้ปัญหาแล้วจะเกิดปัญหาใหม่เพิ่มหรือไม่
คุณจะต้องนึกคิดเพื่อเตรียมลู่ทางเอาไว้ล่วงหน้าด้วย
 
การคิดหาทางออกไว้ล่วงหน้า
ถ้าใช้วิธีจัดการกับปัญหานั้นแล้วเกิดความผิดพลาด
มันคือความรอบครอบไม่ประมาทของคุณโดยแท้
 
3.#อย่าเกลียดกลัวปัญหา
 
คนส่วนใหญ่มักจะเป็นคนเกลียดกลัวปัญหา
แค่ชีวิตหรืองานมีบางสิ่งติดขัดไม่ราบรื่นลื่นไหล
ก็พาลตกใจกลัวลนลานกันไปจนทำอะไรไม่ถูกแล้ว
ทั้งๆที่สิ่งที่เผชิญนั้นมันเป็นแค่ปมหนึ่งปมของเชือก
แค่แกะแก้ปมนั้นให้หลุดออกเชือกนั้นก็ไร้ปมแล้ว
 
คนที่ขลาดกลัวปัญหามีหลายสาเหตุก็คือ
 
1.เป็นเพราะไม่มีประสบการณ์การแก้ปัญหามาก่อน
เมื่อชีวิตและงานต้องเผชิญกับปัญหาขึ้นมาเมื่อไหร่
จะมีเพื่อนร่วมงานเจ้านายหรือลูกน้องช่วยเหลือเสมอ
 
2.เป็นเพราะเข็ดขยาดกับปัญหา
เนื่องจากชีวิตและงานพบเจอปัญหามามากมาย
และล้มเหลวในการแก้ไขปัญหามามากต่อมาก
เพราะขาดทักษะในการแก้ปัญหานั้นๆก็มีอยู่
เพราะขาดการเรียนรู้และขาดผู้ช่วยเหลือก็มีมาก
 
3.เป็นเพราะไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง
เมื่อไม่รู้ว่าปัญหานั้นคืออะไร
การคิดหาวิธีจัดการแก้ไขจึงย่อมเป็นไปไม่ได้เลย
จึงเหลือแต่การนำพาตัวเองเข้าสู่ความเสี่ยง
เพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาที่ตัวเองไม่รู้ไม่เห็นนั้น
 
ไม่ต่างจากการยืนมองฝ่าเข้าไปในเมฆหมอกสีดำ
ด้วยการยืนมองอยู่ข้างนอกโดยไม่เห็นภายในว่า
ในท่ามกลางความมืดของเมฆหมอกนั้นมีอะไรอยู่
มันจึงทำให้คุณเกิดอาการกลัวขึ้นมาล่วงหน้า
ทั้งๆที่คุณยังไม่ได้ก้าวขาย่างเดินเข้าไปในเมฆนั้น
คุณจำเรื่องที่ว่า “ในความมืดยังมีแสงสว่าง” ได้ไหม
เพียงแค่ทำใจกล้าเดินฝ่าเข้าไปในเมฆหมอกนั้น
คุณก็จะพบความจริงว่าข้างในนั้นมันมีทางเลือกอยู่
เมื่อเข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้นคุณก็จะพบทางออก
 
แค่ยืนมองอยู่ข้างนอกโดยไม่กล้าเผชิญปัญหา
ชีวิตนี้คุณจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาใดๆได้เลย
 
สื่อถ่ายทอดคลื่นความคิดในระบบจิตสู่จิต
จากองค์จิตจักรวาลดวงใหญ่
 
ปัญญาวิสุทธิ์
16/08/2566