20 พฤศจิกายน 2559

ตัดน้ำไม่ขาด ตัดพลังงานไม่ได้ ยังจะตัดกรรมเก่าด้วยวิธีการใดได้อีกหรือ?



พี่น้องที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า...

ถ้าท่านปรารถนาการหลุดพ้นแท้จริง
ก็จงอย่าเพียรพยายามแสวงหา
วิธีการพิเศษอันใด
ให้มันพิศดารไปกว่าการเป็นมนุษย์
ที่มีจิตสามนึกเป็นเครื่องมือกันต่อไปอีกเลย

เพราะเหตุว่า....

1.ท่านมี "พลังความรัก" เป็นคุณสมบัติที่ในจิต
ซึ่งพระบิดาทรงประทานไว้ให้ท่าน
ตั้งแต่มาเกิดเป็นคนบนดาวโลกเสรีนี้แล้ว
ซึ่งท่านมีหน้าที่เพียงเข้าถึงมันให้ได้เท่านั้น

2.ท่านยังมี "ดวงปัญญา"
ที่ทรงประทานให้ท่านทั้งหลายไว้
ในเครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
อย่างเท่าเทียมกันทุกคน
ตั้งแต่ภพชาติแรกที่ได้มาเกิดบนโลกเสรีแล้ว
ซึ่งท่านมีหน้าที่เพียงเข้าถึงมันให้ได้เช่นกัน

3.ท่านยังมี "ดวงธรรม"
ที่พระบิดาแห่งจิตวิญญาณ
ได้ทรงประทานผ่านบุตรเอก ทุกพระองค์
ให้เสด็จลงมากล่าวพระโอวาทแทนพระองค์
ให้ท่านได้เกิดสติทางวิญญาณตลอดมาแล้ว
ซึ่งท่านมีหน้าที่เพียงเข้าถึงมันให้ได้
ด้วยการนำมาใช้เป็นบริบท
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเท่านั้น

4.ท่านยังมีดวงแห่งโอกาส
เพื่อให้ได้ย้อนกลับมาเกิดใหม่ในภพชาติต่อๆไป
ตราบใดที่โลกเสรียังไม่ถึงกาลสิ้นยุค
คือ 6 หมื่นปีโลกนั่นเอง
การได้รับโอกาสให้มาเกิดใหม่
ก็เพื่อการให้โอกาสท่าน #แก้ไขกรรมเก่า
ที่ท่านได้กระทำผิดบาปเอาไว้ในชาตินี้โดยแท้

ทั้ง 4 สิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอำนาจ
ในบทบาทของการเป็นมนุษย์ที่แท้จริง
ที่จะสามารถ "แก้ไขกรรม" หรือ "ตัดกรรมเก่า"
ที่ท่านเคยก่อไว้ในอดีตชาติหรือชาตินี้ได้
มันเป็นหนทางเดียวเท่านั้นจริงๆ

อย่าไปเชื่อว่าหรือหวังว่า
จะมีวิธีอัศจรรย์อันใดยิ่งกว่านี้อีกเลย
เสียเวลาและโอกาสแห่งการมีภพชาตินี้ไปเปล่าๆ

วิธีการตัดกรรมเก่าหรือแก้ไขกรรมเก่าที่ดีที่สุด
ที่ท่านสมควรปฏิบัติทุกลมหายใจในยามตื่น

1.ใช้มหาสติในการดำเนินชีวิต
รู้สติ มีสติ และใช้สติ
เพื่อพิจารณาทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ด้วยจิตตปัญญาเท่านั้น
มิใช่ด้วยนิสัย สันดาน และอารมณ์รู้สึก
ในลักษณะของประมาทและขาดสติ

2.ตัดสินใจให้ถูกต้องเหมาะสมและดีงาม
เพื่อที่จะกระทำตอบสนองทุกเงื่อนไข
ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ไม่ว่าจากคน สัตว์ หรือ สิ่งแวดล้อม
ด้วยกาย วาจา และจิตใจ
ที่จะนำความสันติสุขมาสู่ตนเองและผู้อื่นเท่านั้น

3.เรียนรู้ที่จะรักให้ได้ ให้ให้เป็น
โดยไม่กระทำชั่วตอบสนอง
แม้ท่านจะถูกยั่วยุด้วยพลังลบที่รุนแรงก็ตาม

เราจึงจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
เพียงเท่านี้ท่านก็จะทำให้การเกิดของท่าน
มีคุณค่ายิ่งนักแล้ว

การมีภพชาติของท่านก็จะหมดไป
แปลว่า "นิพพาน" คือ หลุดพ้นได้อย่างสิ้นเชิง

เพราะท่านไม่มีภารกิจอะไรจักต้องทำอีกนั่นเอง
การนั่งสมาธิเฉยๆแล้วฝันถึงกรรมอดีต
การพยายามจะระลึกชาติให้ได้
ว่าเคยก่อกรรมทำเข็ญกับใครไว้
แล้วเน้น "ขออโหสิกรรม"
จนกว่าเจ้ากรรมนั้นๆ
จะใจอ่อนอโหสิกรรมให้ท่านเท่านั้นแหละ

มันยาก 2 อย่าง

อย่างแรก...
ท่านมีปัญญาเข้าถึงอดีตกรรม
ที่ตนเคยก่อไว้ได้จริงๆ
โดยไม่มโนหลอกตัวเองแน่แท้หรือเปล่า

อย่างที่สอง...
เจ้ากรรมนายเวรเขาจะใจอ่อน
หายโกรธแค้นอาฆาตท่านง่ายๆจริงหรือเปล่า
เหมือนตีหัวเขาแตกเลือดยังไหลซิบอยู่
แล้วมากระซิบข้างหูเขาว่า "ขอโทษนะ"
ซึ่งวิธีการที่กล่าวนี้มันไม่ง่ายนักหรอก

สำหรับบทบาทของการเป็น "ฆราวาส"
ในเพียงช่วงอายุขัยไม่กี่สิบปี
ถ้าหากท่านมิได้มีพรสวรรค์จากอดีตกันมาบ้าง
เว้นแต่การจะเป็น "นักบวช" ผู้เคร่งครัดจริงจัง
เยี่ยงพระศาสดาของท่านพระองค์นั้นเท่านั้น

มรรควิถีแห่งจิตจักรวาล
บนเส้นทางการหลุดพ้น
จึงน่าจะเหมาะสมกว่าวิธีพิศดาร
ที่หลายท่านยังคงหลงไหลอยู่แนนอน
กราบพระบาทขอบพระทัยพระบิดา
ที่ทรงเมตตาประทานพระโอวาท

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
20-11-2016


18 พฤศจิกายน 2559

ทุกข์หรือสุข มันเกิดที่จิตใจซึ่งอยู่ข้างใน



พี่น้องที่รักแห่งเราทั้งหลาย...

ทุกข์หรือสุขมันเกิดที่จิตใจซึ่งอยู่ข้างใน
ทุกข์สุขของใครก็อยู่ที่ในจิตใจของใครคนนั้น

เหตุและผลแห่งทุกข์กับสุข
จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนคนอื่นไม่เกี่ยว

ความทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจาก
จิตใจท่านบังเกิดความไม่พึงพอใจขึ้น
เมื่อเกิดความไม่พึงพอใจจนได้ที่แล้ว
จิตก็จะแปลเป็นความอยากไม่อยาก
เจ้าตัว "อยาก-ไม่อยาก" นี่แหละ
ตัวก่อทุกข์ล่ะนะ

*เมื่อได้ฟังเขาก่นด่าท่านมาแล้ว
ท่านจะเกิดความรู้สึกไม่ชอบใจไม่พอใจทันที

ไม่พอใจเพราะท่าน "ไม่อยาก" ให้เขาด่า
ไม่พอใจเพราะท่าน "อยากให้" เขาหยุดด่า

แต่ปรากฏว่าเขากลับด่าท่านไม่ยอมหยุด
ท่านจึงเสียสมดุลทางอารมณ์มาก
หรืออารมณ์เสียมากก็เลยโกรธจัด

เมื่อท่านโกรธจัดจิตก็ไม่สงบแล้ว
จิตไม่สงบก็คือ "จิตทุกข์" หรือ "จิตป่วย"

ถ้าท่านมีนิสัยใจคอแบบนี้
คือ จิตติดทุกข์อยู่เป็นประจำ
แสดงว่าจิตท่านนั้นมันเกิดอาการ "ป่วย" แล้ว

นอกจากนั้น...
ถ้าท่านกำลังพึงพอใจทุกสิ่งในชีวิต
ท่านก็ "อยาก" ให้มันเป็นเช่นนั้นตลอดไป
ท่านย่อม "ไม่อยาก" ให้ชีวิต
มันผันแปรเปลี่ยนไปจากที่มันเป็นอยู่

แต่ยิ่ง "ไม่อยาก" ให้มันเปลี่ยนมากเท่าไหร่
จิตใจก็จะยิ่ง "ปริวิตก" มากเท่านั้น

ถ้าจิตใจยิ่ง "ปริวิตก" มากเท่าไหร่
จิตใจก็จะยิ่งไม่สงบจนเกิด"ทุกข์"มากเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เอง...
เราจึงขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

ความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือ พอใจ ไม่พอใจ
เป็นต้นสายของเหตุแห่งความทุกข์ในชีวิต
ความรู้สึกทั้งสองด้านจึงเป็น "กิเลส"
ซึ่งท่านไม่ควรปล่อยให้จิตติดอาการเด็ดขาด

เพราะถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว
จิตของท่านมันจะปรุงแต่งเป็น
อาการ "อยาก-ไม่อยาก" ต่อไปทันที
ท่านจะไม่มีทางระงับยับยั้งมันได้เลย
เจ้าตัวอยากไม่อยากนี่แหละ คือ "ตัณหา"

ตัณหา จึงมาจากกิเลส
ถ้าดับกิเลสหรือความรู้สึกตัวนี้ได้
ตัณหาคืออยากไม่อยากย่อมดับตามไปด้วย
ถ้าท่านดับตัณหาได้
ตัวอุปาทานคือการหลงผิดก็จะไม่เกิด
อุปาทานก็คือการลุ่มหลงในเงามายาของสรรพสิ่ง
เพราะคิดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นตัวตนแก่นแท้
ทั้งรูป รส กลิ่น เสียงจึงหลงยึดติดพวกมันเข้า
การหลงยึดติดในสิ่งเหล่านี้นี่เอง
จักเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งปวง

ถ้าท่านดับตัณหาไม่ได้
ตัวอุปาทานก็จะสร้างปัญหาทางจิตแก่ท่านต่อไป
นั่นคือ มันจะทำให้จิตของท่านไม่ว่าง
ที่ไม่ว่างเพราะมัวแต่หลงยึดติดอัตตาของสรรพสิ่ง
การยึดติดมากจนยากจะปล่อยวาง
ยังจะทำให้จิตท่านเสียสมดุลไปจากความว่าง
ห่างไกลจากความสุขสงบ
เพราะมันจะเกิดโทสะ โลภะ โมหะ
มาพอกพูนจิตใจคล้ายดั่งสนิมจนหนาขึ้นเรื่อยๆ
ในบั้นปลายจิตใจท่านก็จะเกิดการ "ตายด้าน"

อาการ "ตายด้าน" ก็คือ
รักไม่ได้ ให้ไม่เป็น เห็นแก่ตัว

ดังนั้น
ถ้าหากท่านทั้งหลาย
ยังใช้ชีวิตด้วยจิตที่ติดทุกข์กันอยู่เยี่ยงนี้
โดยไม่ยอมเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองเลย
ท่านก็จักเป็นปลาที่ถูกคัดทิ้งแน่นอน

กราบพระบาทพระบิดา
ที่ทรงเมตตาประทานพระโอวาท

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา

18-11-2016