(เพื่อยุวจิตจักรวาลยุคสุดท้าย)
พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
ทักษะความชำนาญในการใช้ตาปากและหู
ซึ่งคุณต้องเรียนรู้และฝึกฝนกันในชีวิตประจำวัน
ตามหลักการและวิธีการที่เรากล่าวผ่านมาแล้วนั้น
เนื่องจากมันยังเป็น “อวัยวะ” ที่สำคัญของมนุษย์
เพื่อแสดงออกหรือกระทำสิ่งเร้าของผู้อื่นด้วย
มิได้เป็นแค่ “อายตนะ” เพื่อสัมผัสสิ่งเร้าเท่านั้น
ดังนั้น
เมื่อคุณรู้จักการใช้มันเพื่อสัมผัสรับรู้สิ่งเร้า
ในบทบาทที่ตาหูและปากเป็นอายตนะหลักแล้ว
ต้องเรียนรู้และฝึกทักษะในบทบาทของอวัยวะด้วย
#หลักการใช้ปากในการสื่อสารให้มีประสิทธิผล
1.ต้องพูดจาภาษาเดียวกันกับผู้ฟัง
2.ต้องพูดให้เสียงดังฟังได้อย่างชัดเจน
3.ต้องพูดให้ครบถ้วนกระบวนความตามที่จะสื่อ
4.ต้องพูดให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงเท่านั้น
5.ต้องพูดให้มีน้ำเสียงน้ำคำและน้ำใจชวนติดตาม
6.ต้องพูดให้ต่อเนื่องและต้องเป็นไปอย่างราบรื่น
7.ต้องตรวจสอบความเข้าใจของผู้ฟังทุกระยะด้วย
8.ต้องจัดลำดับเรื่องที่จะพูดให้เขาเข้าใจให้เป็น
9.ต้องคิดหาเรื่องมาพูดสนทนาอย่าพูดเพื่อหาเรื่อง
10.ต้องพูดกับคนที่เขาสนใจและตั้งใจฟังคุณ
เรื่องที่เขาไม่อยากรับฟังหรือยังไม่สนใจที่จะฟัง
กับตัวตนของคนที่เขาไม่อยากฟังคุณพูด
ทั้งสองประเภทนี้คุณต้อง “ละเว้น” ในการพูดเสมอ
คุณเห็นหรือยังว่า
วิธีพูดจาสนทนาเพื่อการสื่อสารสัมพันธ์กับคนอื่น
เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่คุณต้องฝึกทักษะกันไว้
เพราะปากเป็นอวัยวะสำคัญที่ “พาจน” มาให้คุณได้
คนทั้งโลกเขารู้ดีอยู่ว่าสาเหตุใหญ่ที่คนทะเลาะกัน
มันเกิดจากปัญหาด้าน #การสื่อสารด้วยปาก ทั้งนั้น
หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรชั้นนำทั่วไป
ประเทศที่เจริญแล้วจะเน้นที่การสื่อสารก่อนเรื่องอื่น
ไทยแท้แต่โบราณจึงกล่าวสืบต่อกันมายาวนานว่า
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา
อันหมายถึงว่า “ปาก” เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกสุด
จะอดหยากยากจนจะลำบากยากแค้นจะเดียวดาย
จะร่ำรวยญาติสนิทมิตรสหายจะโชคดีมีเฮงมากน้อย
ก็เป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า #ชั่วดีอยู่ที่ปาก นั่นแหละ
คราวนี้เรามาลองดูหลักการใช้หูเป็นอวัยวะรับฟังบ้าง
เมื่อปากสร้างเงื่อนไขแห่งกรรมจักรหรือธรรมจักรได้
หูสองข้างของคุณก็สร้างได้เหมือนกัน
#หลักการใช้หูในการสื่อสารให้มีประสิทธิผล
1.ต้องรู้ว่าที่เขาพูดอยู่นั้นเป็นภาษาอะไร
2.ต้องตั้งใจฟังที่เขาพูดเพื่อฟังถ้อยความให้ชัดเจน
3.ต้องฟังให้ครบถ้วนอย่าฟังแค่บางตอนบางเรื่อง
4.ต้องฟังให้ถูกต้องและแน่ใจว่าเขาพูดเช่นนั้นจริง
5.ต้องตั้งใจรับฟังเขาพูดอย่างอารมณ์ดี
6.ต้องฟังให้ต่อเนื่องโดยคิดตามที่เขาพูดให้เข้าใจ
7.ต้องฟังอย่างสงบโดยไม่ขัดคอหรือโต้แย้งเขา
ถ้าหากตอนใดเรื่องใดไม่เข้าใจค่อยหาจังหวะถาม
เพื่อตรวจความเข้าใจของคุณว่าตรงกับที่เขาพูดไหม
โดยไม่สร้างปัญหาทางอารมณ์ให้เขาเพราะถูกขัดคอ
จนทำลายบรรยากาศไปเป็นการหมุนกรรมจักรแทน
8.ต้องตั้งใจรับฟังเขาพูดให้เข้าใจไปทีละเรื่อง
ถ้าเขาจะเปลี่ยนเรื่องไปพูดเรื่องอื่นประเด็นอื่น
ให้คุณฉวยโอกาสนั้นตรวจสอบความเข้าใจของคุณ
ในเรื่องเดิมที่เขากำลังพูดอยู่ให้คมชัดลึกมากที่สุด
ตอนใดประเด็นใดหรือปมใดที่คมชัดลึกไม่มากพอ
คุณสามารถร้องขอเพิ่มเติมจากเขาได้ในตอนนั้น
อย่าปล่อยให้เขาพูดผ่านไปสู่ประเด็นอื่นเร็วเกินไป
9.ต้องรับฟังเพื่อค้นหาสาระประโยชน์จากคนพูด
อย่างตั้งใจและเต็มใจที่จะฟังอย่างแท้จริงเท่านั้น
เพราะลีลาท่าทางการแสดงออกของคุณขณะนั้น
จะทำให้ผู้พูดยินดีและมีเกียรติจนเต็มใจที่จะพูด
โดยคุณต้องพยายามจับประเด็นที่เขาพูดให้ได้ว่า
เขากำลังพูดเรื่องอะไรและเขาพูดว่าอย่างไรบ้าง
10.ต้องเต็มใจฟังทุกเรื่องทุกประเด็นที่เขาพูด
แม้คุณจะฟังแล้วบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจฟัง
ตัวอย่างเช่น
เป็นเรื่องที่ตัวคุณเองเคยรับรู้รับฟังมาบ้างแล้ว
เป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของคุณ
เป็นเรื่องในแนวของการนินทาชาวบ้าน
เป็นเรื่องในแนวความลับของคนที่สาม
เป็นเรื่องในแนวบ่อนทำลายชาติศาสน์กษัตริย์
เป็นเรื่องในแนวผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย
ให้คุณเปลี่ยนบทบาทการฟัง
เป็นการมีหูแต่ทำเป็นเหมือนไม่มีอยู่ชั่วคราว
แล้วใช้ภาษา “เอ้อ...” ภาษา “อ๋อ...” กับเขาแทน
โดยไม่แสดงอาการขัดคอหรือไม่เห็นด้วยกับเขา
ซึ่งคุณจะยังเป็นนักฟังที่ดีและเป็นมิตรอยู่เช่นเดิม
จงจำเอาไว้ว่าการฉลาดพูดและฉลาดฟัง
แม้จะเป็นภาษาของชาติกำเนิดตนเอง
มิใช่ภาษาต่างด้าวที่เป็นภาษาสากลอะไร
คุณจักต้องเรียนรู้และฝึกฝนไว้ตามที่เรากล่าวมา
แม้จะโก้หรูดูดีกับการเก่งพูดภาษา ตปท.เป็นไฟ
แต่เวลาพูดฟังภาษาไทยเพื่อสื่อสารกับใคร
พากันล้มเหลวในการหมุนธรรมจักรอยู่เป็นประจำ
มันน่าชื่นชมนักหรือคุณ?
เอเมน สาธุ
ถ่ายทอดคลื่นความคิดจากองค์จิตจักรวาล
โดย #ปัญญาวิสุทธิ์
12/10/2566