#คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล
พี่ๆน้อง
ๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
#ธรรมชาติเป็นโลกุตรธรรมความจริงของพระบิดา
ที่ทรงฝากแฝงไว้กับทุกสิ่งรายรอบตัวของพวกคุณ
ให้คุณใช้กลไกอายตนะภายนอกทั้งห้าสัมผัสรับรู้
เพื่อ
“เรียนรู้” ด้วยจิตปัญญาของสมองซีกขวาที่มีอยู่
ความฉลาดของสมองซีกขวาเรียกว่า
#ปัญญาญาณ
ซึ่งมาจากคำว่า
“สติปัญญาของจิตวิญญาณ” นั่นเอง
พระองค์ทรงออกแบบให้สมองมนุษย์แบ่งเป็นสองซีก
ลักษณะเดียวกันกับใบไม้ที่มีสีเขียวและมีสองซีกด้วย
โดยสมองซีกซ้ายของมนุษย์ใช้ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์
เพื่อแยกแยะด้วยหลักการและเหตุผลว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ต่างจากหน้าที่แรกของใบไม้ก็คือแยกแยะแร่ธาตุ
แล้วนำแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นไปทำการสังเคราะห์แสง
เพื่อปรุงอาหารก่อนที่จะส่งไปเลี้ยงทุกส่วนของลำต้น
สมองคุณจึงมีสองซีกเพราะทรงได้ต้นแบบมาจากพืช
พืชต้องการอาหารหล่อเลี้ยงโครงสร้างทางกายภาพ
คือลำต้นกิ่งก้านใบดอกและผลให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
พืชส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยใบที่มีสีเขียวเพื่อปรุงอาหาร
โดยมีคลอโรฟิลกับคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์เป็นตัวช่วย
สำหรับมนุษย์นั้น
“ความรู้” ที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
กับการนำเอาความรู้ที่วิเคราะห์ได้มาทำการสังเคราะห์
ก่อนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตกันนั้น
มันคือ
“อาหาร” ของแก่นแท้ที่เป็นจิตวิญญาณนั่นแหละ
โดยสมองก็ต้องใช้ก๊าซออกซิเจนและคลื่นจิตด้านบวก
ในกระบวนการคิดสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับคนสองมิติที่จะต้องคนตนเองเพื่อเป็นมนุษย์นั้น
สมองซีกซ้ายจึงใช้วิเคราะห์สัจธรรมที่เป็นโลกียะธรรม
สมองซีกขวาจึงใช้สังเคราะห์สัจธรรมที่เป็นโลกุตรธรรม
โดยทั้งโลกียะธรรมและโลกุตรธรรมก็ล้วนเป็นอาหาร
ที่พวกคุณซึ่งเป็นคนสองมิติจักต้องบริโภคกันทั้งสิ้น
อาจกล่าวว่า
“โลกียะธรรม” คืออาหารของกายหยาบ
สำหรับ
“โลกุตรธรรม” นั้นเป็นอาหารของจิตวิญญาณ
สมองทั้งสองซีกจึงเปรียบเสมือนใบไม้ในแต่ละใบ
ที่พืชใบเขียวทั้งหลายใช้ในกระบวนการปรุงอาหาร
พวกคุณจึงต้องรู้ว่า
การคิดรู้ด้วยสมองนั้นคุณต้องใช้จิตหยาบกำหนดนึก
ไม่ต่างจากพืชสีเขียวทั้งหลายก็ต้องใช้กลุ่มพลังงาน
รวมทั้งสิ้น
189
กลุ่มเป็นผู้สั่นสะเทือนขับเคลื่อนด้วย
มิเช่นนั้นกระบวนการผลิตสร้างอาหารจะเกิดขึ้นไม่ได้
ทั้งในพืชสีเขียวทั้งหลายและในคนสองมิติก็คือมนุษย์
เพียงแต่ว่าในใบสีเขียวของพืชทั้งหลายนั้น
กระบวนการวิเคราะห์เพื่อแยกแยะแร่ธาตุต่างๆ
กับกระบวนการนำแร่ธาตุต่างๆมาสังเคราะห์แสง
เพื่อทำการผลิตสร้างอาหารเลี้ยงตนเองในพืชนั้น
เป็นกระบวนการ
“อัตโนมัติ” ตามที่ทรงกำหนดไว้
ซึ่งสมองสองซีกของคุณก็ทำงานได้อัตโนมัติเช่นกัน
แต่เนื่องจากคนสองมิติอย่างพวกคุณทั้งหลายนั้น
ต้องใช้ความรู้กับความฉลาดทางปัญญามากกว่า
จึงทรงออกแบบให้พวกคุณ
“กดปุ่ม” ใช้งานมันได้
แสดงว่าสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
พวกคุณสามารถใช้งานมันได้รวม
2 ระบบก็คือ
ระบบอัตโนมัติระบบหนึ่งกับระบบกดปุ่มอีกระบบหนึ่ง
สำหรับระบบอัตโนมัติคงไม่ยุ่งยากมากปัญหาอะไร
แค่เป็น
“ลูกอีช่างนึก” พวกคุณก็ได้ใช้สมองฟรีแล้ว
แต่ระบบกดปุ่มใช้งานสมองทั้งสองซีกนี่สิแสนยาก
ยิ่งคุณไม่สนใจใฝ่ฝึกที่จะกดปุ่มใช้สมองคิดด้วยแล้ว
เซลล์สมองของคุณจะค่อยๆฝ่อไป
10%
ในทุก 9 ปี
ดังนั้น
ก่อนที่คุณจะ
“กดปุ่ม” ใช้ #สมองซีกซ้าย
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ
#คลำหาสติของตนให้พบ
คำว่า
“สติ” หมายถึง การรู้ตื่นหรือตื่นรู้
นั่นคือคุณต้องมีจิตที่
#สงบว่าง ไปจากทุกสิ่ง
เพื่อให้จิตนึกแล้วคิดหาคำตอบในสิ่งที่ต้องการ
แค่เพียงสิ่งเดียวหรือเพียงเรื่องเดียวนั้นให้จงได้
เพราะจิตหรือจิตหยาบของคุณทำงานได้ทีละอย่าง
ถ้าคุณขาดสติจนควบคุมการนึกเพื่อคิดของตนไม่ได้
พลังอำนาจในการสั่นสะเทือนของจิตเพื่อกดปุ่มคิด
มันก็จะอ่อนด้อยถอยลงไปเสมอ
สิ่งที่สองที่ต้องทำก็คือ
นอกจากคุณจะต้องนึกเพื่อคิดไปทีละเรื่องแล้ว
ต้องนำเอาเรื่องที่จะคิดนั้นมาจัดลำดับก่อนหลังว่า
คุณควรจะคิดเรื่องไหนหรือประเด็นใดก่อน
เมื่อคิดเรื่องใดสำเร็จคือได้คำตอบเป็นที่พอใจแล้ว
ค่อยนำเอาเรื่องถัดไปที่จัดลำดับไว้มาคิดต่อ
วิธีปฏิบัติเช่นนี้ก็คือการคิดอย่างมีหลักการนั่นเอง
สิ่งที่สามที่ต้องทำก็คือ
ขณะกำลังคิดพิจารณาเรื่องนั้นๆอยู่
คุณต้องคิดคำนึงถึง
#เหตุผล เอาไว้ด้วย
เหตุคือ
“สารตั้งต้น” ผลก็คือ “สิ่งที่จะเกิด”
โดยเหตุที่เป็นสารตั้งต้นนี้คือ
“ที่มา”
ผลซึ่งเป็นสิ่งที่จะเกิดก็คือ
“ที่ไป” นั่นเอง
หลักคิดด้วยวิธีกดปุ่มทำการวิเคราะห์ลักษณะนี้
พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า
#หลักอิทัปปัจจยตา
สิ่งที่สี่ที่ต้องทำเป็นสิ่งสุดท้ายก็คือ
ขณะกำลังคิดพิจารณาเรื่องนั้นๆอยู่
จงอย่ายอมให้จิตนึกนำเรื่องอื่นเข้ามาแทรกเด็ดขาด
จงอย่ายอมให้สิ่งเร้าทั้งภายนอกหรือภายในจิตเอง
จนทำให้คุณเกิดอาการ
“จิตตก” หรือ “สติแตก” ได้
เพราะถูกยั่วยุหรือเย้ายวนหรือกวนใจจนเสียกระบวน
มันจะทำให้กระบวนการคิดเรื่องนั้นเกิดการสดุด
จนไม่อาจเข้าถึงคำตอบอันแยบยลตามต้องการได้
กราบพระบาทพระบิดาทรงเมตตา
เอเมน
สาธุ
8/03/2567