06 มกราคม 2559

ความรู้กับความ "รู" สึกนั้นไม่เหมือนกัน



นักเรียนที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เมื่อท่านรู้ความจริงว่า
จักต้องปฏิบัติตนอย่างไรกับใครบางคน
ที่เขาทำตนไม่น่ารัก
แล้วท่านสั่นสะเทือนจิตตนเองขึ้นมา

โดยเกิดความรู้สึกว่า "ทำยาก" นั้น
มันเป็นทุกขเวทนาอย่างหนึ่ง

เมื่อจิตหยาบเกิดเวทนาขึ้นมาเมื่อไหร่ 
กระบวนการของขันธ์ 5 
ก็จะยกระดับจิตหยาบ
ให้เข้าถึงจิตวิญญาณไม่ได้
เพราะเจ้าตัวเวทนานี่แหละเป็นอุปสรรค

เพราะถ้าท่านเคยตัวกับคำว่า "ยาก"
ตั้งแต่แรกที่ได้รู้ว่าต้องทำแล้ว
ท่านจะห้ามความไม่อยากทำ
มิให้เกิดขึ้นในจิตท่านน่ะไม่ได้แล้ว
นอกจากการ "ฝืน" คือ "กดเก็บ" มันไว้
แล้วจริตอย่างนี้จะเข้าถึงปรมัตถธรรม
ในสภาวะจิตสุญญตาได้อย่างไร

ถามตนเองสิว่า....

1.ถ้ายังไม่เคยทำตามที่เราชี้ทางไว้ให้มาก่อน
แล้วชิงบอกตัวเองว่า "ทำยาก" ได้อย่างไร
ขี้ขลาดตาขาว 
ไม่กล้าหาญเลยใช่ไหม

2.ถ้าท่านบอกตนเองว่า "ทำยาก"
เพราะเคยทำมาแล้ว 
นี่ย่อมแปลว่า "ยาก" ที่เกิดขึ้นในจิตใจท่าน
มันมิใช่เวทนาแล้วล่ะ
แต่มันเป็นความจริงเบื้องต้นของท่านต่างหาก

3.ข้อสำคัญคือ 
ถ้าเคยทำแล้วมีประสบการณ์แล้ว
ท่านจึงบอกกับตนเองว่ายาก (มิใช่ความรู้สึก)
โดยเมื่อรู้แล้วว่ายาก
ท่านก็ยังยืนยันว่าจะทำมันต่อไป
หรือท่านเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากทำล่ะ

ถ้าท่านรู้ว่ายากแล้วยังทำต่อไป
โดยไม่มีอยากทำไม่อยากทำ
ด้วยสำนึกว่าเพราะมันเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบ
ก็นับว่าท่านน่ะสอบผ่าน

แต่ถ้ารู้ว่ายากเพราะเคยทำอย่างลำบากมาแล้ว
รู้ว่ายากเพราะเคยทำไม่สำเร็จมาแล้ว

ท่านก็เลยไม่อยากทำ 
รังเกียจที่จะทำ
ท้อแท้ใจที่จะทำมันต่อไป

ท่านปฏิเสธที่จะทำมัน
ถ้าเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง
ถ้าจะให้ทำก็ต้องบังคับตนเองหรือฝืนใจทำ

ทั้งหมดนี้เป็น "ความรู้สึกร่วมกับตัณหา" ด้านลบ
ก็คือเกิดทุกขเวทนาขึ้นมานั่นเอง
หากท่านเป็นดั่งนี้แสดงว่าขี้ขลาด ไม่กล้าหาญ
ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
มิใช่ "นักสู้เพื่อการรู้แจ้ง" แต่อย่างใด

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
6-1-2016