27 มกราคม 2559

พุทธวจน # 1



พุทธวจนบทนี้...หมายความว่า 
"ไม่อะไรกับอะไรอยู่แล้ว
อย่างที่บางคนเชื่อกันจริงแท้แน่หรือ?

**เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
"พุทธวจน" บทนี้มีอะไรๆต้องคิดให้สุดนะ
โดยมีความว่า....

"ดูกร...พาหิยะ...
เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น
ได้ฟังเสียงแล้ว ก็สักว่าฟัง
ได้ดมกลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม
ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม
ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว ก็สักว่าสัมผัส
เมื่อนั้น "เธอ" จักไม่มี

เมื่อใด "เธอ" ไม่มี 
เมื่อนั้น "เธอ" ก็จักไม่ปรากฏในโลกนี้
"เธอ" ก็จัก "ไม่ปรากฏ" ในโลกอื่น
ไม่ปรากฏ "ในระหว่าง" แห่งโลกทั้งสอง

นั่นแหละ....คือ ที่สุดแห่งทุกข์"

เชิญนักธรรมล้อมวงเข้ามา
แล้วใช้ปัญญาสนุกคิดตามเรากันหน่อยมั้ย?

1.การเห็นรูปแล้ว สักแต่ว่าเห็นนั้น
สำหรับนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงว่า

เมื่อมีการ "กำหนดเห็น" หรือ "มโนนึก
ถึงรูปธรรมใดๆแว่บขึ้นมาแล้ว
ก็จงอย่าไปปรุงแต่งมัน
โดยให้รับรู้แค่ว่าตนนึกเห็นอะไรอยู่
แล้วพิจารณาดูว่า "อะไรเป็นอะไร"

เมื่อได้องค์ความรู้จาก "อะไร" นั่นแล้ว
ก็ให้ละวางรูปธรรมนั้นเสีย
อย่าไปติดใจในรูปธรรมนั้นอีก

2.การได้ฟังเสียงแล้ว ก็สักว่าฟังนั้น
สำหรับนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงว่า

แม้จะปลีกวิเวกอยู่ตามลำพังแล้ว
แต่ก็อาจได้ยินได้ฟัง
สรรพสำเนียง "อะไร"
โดยมิได้ตั้งใจที่จะรับฟังมัน

ก็ให้รับรู้แต่เพียงแค่ว่า
ตนกำลังได้ยินได้ฟังอะไรอยู่
แล้วจงพิจารณาดูว่า "อะไรเป็นอะไร"

เมื่อได้องค์ความรู้จาก "อะไร" นั่นแล้ว
ก็ให้ละวางสรรพสำเนียงนั้นเสีย
อย่าไปติดใจหรือสงสัยในสรรพสำเนียงนั้นอีก

3.การได้ดมกลิ่นแล้ว ก็สักว่าดมนั้น
สำหรับนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงว่า

แม้จะปลีกวิเวกอยู่ตามลำพังแล้ว
แต่ก็อาจได้กลิ่นของ "อะไร" เข้า
แม้จะมิตั้งใจที่จะได้กลิ่นของมัน

โดยให้รับรู้แค่เพียงว่า
ตนกำลังได้กลิ่น "อะไร" อยู่
แล้วพิจารณาดูว่า "อะไรเป็นอะไร"

เมื่อได้องค์ความรู้จาก "อะไร" นั่นแล้ว
ก็ให้ละวางกลิ่นนั้นเสีย
อย่าไปติดใจหรือสงสัยในกลิ่นนั้นอีก

4.การได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้มนั้น
สำหรับนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงว่า

แม้จะปลีกวิเวกอยู่ตามลำพังแล้ว
แต่ก็ต้องฉันบริโภคอาหาร
ซึ่งอาจได้ลิ้มรส "อะไร" ที่มิได้ตั้งใจ

ก็ให้รับรู้แค่ว่า
ตนกำลังรับรู้รสชาติ "อะไร" อยู่
แล้วพิจารณารสนั้นดูว่า "อะไรเป็นอะไร"

ต่อเมื่อได้องค์ความรู้จาก "อะไร" นั่นแล้ว
ก็ให้ละวางรสชาตินั้นเสีย
อย่าไปติดใจหรือสงสัยในรสชาตินั้นอีก

5.การได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว 
ก็สักว่าสัมผัสนั้น

สำหรับนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธองค์ทรงหมายถึงว่า

แม้จะปลีกวิเวกอยู่ตามลำพังแล้ว
แต่อวัยวะร่างกายก็ยังต้องสัมผัสกับ
อาภรณ์ ที่นั่ง ที่นอน ที่ยืน ที่เดิน ที่อาศัย

ก็ให้รับรู้แต่เพียงแค่ว่า
ตนกำลังสัมผัสกับ "อะไร" อยู่
แล้วให้พิจารณาดูว่า "อะไรเป็นอะไร"

ต่อเมื่อได้องค์ความรู้
จาก "อะไร" นั่นแล้วก็ให้ละวาง
สิ่งที่กายตนสัมผัสอยู่นั้นเสีย
อย่าไปติดใจหรือสงสัย
สิ่งที่ตนสัมผัสนั้นอีก

6.ท่านทั้งหลายจะเห็นได้ว่า
ไม่ว่าจะเป็นนักบวชผู้ปฏิบัติกรรมฐาน
หรือจะเป็นชาวบ้านชาวเมืองก็ตาม
กฎเกณฑ์การใช้อายตนะ
ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
มันมิได้แตกต่างกันที่ตรงไหนเลย

7.ใครที่นำเอาสไลด์พุทธวจนะ
ขึ้นมาแย้งเรา....ก็จงคิดใหม่ว่า
คำสอนของพระพุทธองค์บทนี้
หมายความว่าให้พวกท่านน่ะ 
"ไม่อะไรกับอะไร" ใช่แน่หรือ

8.หากย้อนกลับขึ้นไปอ่านด้านบนทั้ง 5 ข้อ
ท่านจะพบว่าความหมายที่แท้จริงนั้น
ทรงมิได้หมายความว่า
เมื่อท่านสัมผัสรู้ดูเห็นสิ่งใดแล้ว
ให้วางมันทันที (ไม่อะไรกับอะไร)

แต่ให้ "พิจารณา" ใน "อะไร" นั่น
เพื่อให้รู้ว่า "อะไรเป็นอะไร" เสียก่อน
แล้วค่อยละวางมันไปโดยไม่ใส่ใจมันอีก
ซึ่งหมายถึง "รับรู้แล้ว" ต้อง "เรียนรู้" นั่นเอง
หากรับรู้อะไรแล้วไม่ยอมเรียนรู้
มันแปลว่า "โง่" มิใช่ดอกหรือท่าน

9.การสักแต่ว่า.......
สัมผัสรู้ดูเห็นอะไรแล้ววางเฉยนั่นน่ะ
มันมิได้หมายความว่า "ปล่อยวาง"
เพื่อให้เกิดสภาวะ "จิตว่าง" หรอกท่าน
(คำว่า "วาง" หลังคำว่า "ปล่อย" ไม่มีไม้เอกนะ)

แต่สำหรับวิถีจิตจักรวาลแล้ว
เราไม่เห็นด้วยกับพวกท่านเลย
เพราะเราเห็นว่าวิธีปฏิบัติของท่าน
ในการรับรู้อะไรแล้ววางเฉยนั้น
มันเป็นการ "ปล่อยว่าง
คือ ปล่อยให้จิตของท่านมันว่าง
ทั้งๆที่ท่านมีหน้าที่ต้องเรียนรู้ว่า
"อะไร เป็นอะไร" ต่อไปอีก

หากไม่เรียนรู้แล้ว
ท่านจะรู้มากขึ้นได้ยังไง

หากไม่เรียนรู้แล้ว
ท่านจะฉลาดขึ้นได้ยังไง

หากท่านไม่รอบรู้
หากท่านไม่ฉลาด
ทั้งทางปัญญา อารมณ์ และสังคม
ในการดำเนินชีวิตแล้ว

ท่านจะผ่านบทเรียนและบททดสอบ
การเป็นมนุษย์แห่งดาวโลกเสรีนี้ได้อย่างไร
เมื่อผ่านไม่ได้ก็หลุดพ้นไม่ได้

ต่อให้ท่องจำคำสอนของครูมาจนขึ้นใจ
ต่อให้ใช้คำพูดเลิศลิ้นจนต้องปีนบันใดฟัง

หากเข้าใจผิดหลงผิด
ปฏิบัติผิดเสียแต่ต้น
แถมยังมีทิฐิดื้อรั้น
จนไม่รับฟังการเห็นต่างอีก
ภพชาตินี้ย่อมเสียเวลาเปล่า

ดังนั้น สำหรับชาวโลก
ปลายยุคพลังงานเก่านี้

คำว่า "อรหันต์
จึงเป็นได้แค่เพียงความเชื่อ

คำว่า "หลุดพ้น
จึงเป็นได้แค่เพียงความคาดหวัง

เอเมน สาธุ
.วิสุทธิปัญญา

27-1-2016