29 ธันวาคม 2566

คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล 29/12/2566

 #คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล

(เพื่อยุวจิตจักรวาลยุคสุดท้าย)

 

พี่ๆน้อง ๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

 

ถ้าคุณฉลาดมองโลก

โดยสามารถมองเห็นโลกตามความเป็นจริงได้

การเรียนรู้ของคุณก็จะถูกต้องตรงจริงได้เสมอ

 

คำว่า “ฉลาดมองโลก” นี่แหละ

จะถูกกำกับด้วยการ #ฉลาดใช้อายตนะ สัมผัสสิ่งเร้า

การฉลาดใช้อายตนะสำหรับมนุษย์ก็คือ #ช่างสังเกต

ช่างสังเกตหมายถึง “หูไว ตาไว” ต่อสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น

ถ้าคุณเป็นคนรอบครอบมากขึ้นจิตก็จะยิ่งละเอียดมาก

คุณจะเป็นคนหูไวต่อสิ่งที่ได้ยินตาไวต่อสิ่งที่เป็นพิรุธ

เมื่อมีสิ่งเร้าผ่านหูผ่านตาให้รับรู้ได้อย่างมากมายแล้ว

มันก็จะง่ายขึ้นสำหรับคุณในการ #เลือกเรื่องมาเรียนรู้

 

คำว่า “เลือกเรื่องมาเรียนรู้” หมายถึง

ฉลาดที่จะหยิบเอาบางเรื่องมา “นึก” ตั้งคำถามตนเอง

เพื่อทำการคิดวิเคราะห์ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

โดยนึกคิดอย่างมีวัตถุประสงค์คือเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น

โดยมีเป้าหมายของการเรียนรู้ก็คือจะต้องได้ “คำตอบ”

ที่ถูกต้องตรงจริงชัดเจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ซึ่งผลการคิดที่ได้นี้ได้จากการ “ฉลาดเรียนรู้” นั่นเอง

 

ดังนั้น

การเป็นคนฉลาดมองโลก

จึงต้องฉลาดใช้อายตนะภายนอกทั้งห้า

วันๆจะเอาแต่นั่งหลับตาปิดวาจาปิดหูไม่รู้ไม่เห็นอะไร

ไม่คบหาไม่สมาคมกับใครทั้งๆที่เป็นสัตว์สังคมไม่ได้

เพราะมันคือการ “ขังตนเอง” ไว้ในป่าในถ้ำตามลำพัง

ที่พวกคุณเรียกว่า #ขังเดี่ยว อยู่คนเดียว

ไม่มีใครหรือสิ่งใดจะเป็นครูผู้ยื่นบททดสอบให้คุณได้

ไม่มีใครหรือสิ่งใดจะเป็นครูผู้ยื่นบทเรียนชีวิตให้คุณได้

จึงต้องเป็นครูสอนตนเองในโลกมืดและวังเวงเท่านั้น

 

ไม่ต่างจากการนั่งนับนิ้วมือกับนับนิ้วเท้าของตนเอง

ซึ่งนับไปนับมารวมแล้วก็นับได้แค่ไม่เกินยี่สิบนิ้ว

เพราะว่ามันมีนิ้วให้คุณฝึกนั่งนับได้อยู่เพียงแค่นั้น

ครั้นจะฝึกนับนิ้วให้ได้มากกว่านั้นก็ไม่มีเพื่อนให้ยืมนับ

เนื่องจากคุณเลือกที่จะหนีสังคมหรือปลีกวิเวกไปแล้ว

ความไม่ฉลาดเรียนรู้จึงทำให้คุณขาดพร่องในความรู้

คือ “รู้น้อยกว่าที่คุณต้องรู้” เพราะคุณขาดเพื่อนเรียน

ที่พวกเขาทั้งโลกสามารถเป็นสารพัดครูให้คุณได้

แต่เป็นครูคนแรกและคนสุดท้ายของคุณไม่ได้เท่านั้น

 

ถ้าคุณฉลาดคิดวิเคราะห์เมื่อสัมผัสรู้ดูเห็นความจริง

ที่เป็น “โลกียะธรรม” ด้วยสติปัญญาสมองซีกซ้ายแล้ว

ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของสมองซีกขวาคือ #ปัญญาญาณ

จะต้องนำเอาโลกียะธรรมที่ได้มานั้นใช้เป็นวัตถุดิบ

เพื่อนำมา #สังเคราะห์ ด้วยปัญญาญาณที่เป็นคลื่นแสง

ให้เหมือนกับการที่พืชนำวัตถุดิบจากรากมาสังเคราะห์

ที่ใบซึ่งมีสีเขียวๆด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นั่นแหละ

 

หลักการสังเคราะห์วัตถุดิบหรือปรุงอาหารด้วยการคิด

เพื่อนำไปใช้บริโภคในการดำเนินชีวิตด้วยสมองซีกขวา

มีดังต่อไปนี้ คือ

 

1.ให้มีแต่วัตถุประสงค์ในการคิดนั่นคือ

คิดเพื่อที่จะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตน

มิใช่คิดเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น

 

2.ไม่กำหนดเป้าหมายในการคิดล่วงหน้าว่า

ตนจะต้องได้คำตอบมาเป็นจำนวนมากสักเท่าไหร่

 

3.ไม่ตีกรอบการคิดเอาไว้ว่า

ตนจะต้องคิดให้ได้คำตอบภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้

ด้วยการกำหนดกรอบเวลาในการคิดเอาไว้ล่วงหน้า

 

4.ไม่คิดด้วยการยึดติดในหลักการและเหตุผล

เหมือนกับการคิดด้วยสติปัญญาของสมองซีกซ้าย

แต่ต้องคิดแบบดอกไม้บานหรือคิดให้ได้จนสุดขอบฟ้า

โดยไม่ตีกรอบการคิดนั้นๆของตนเองเอาไว้

 

ตัวอย่างเช่น

เคยคิดอย่างมีหลักการก็เปลี่ยนเป็นไม่ยึดหลักการบ้าง

เคยคิดโดยยึดเหตุผลหรือทฤษฎีก็ลองไม่ยึดติดดูบ้าง

การคิดแบบนี้สมองซีกขวาของคุณนั้นถนัดนักแล

 

5.ให้คุณคิดสังเคราะห์วัตถุดิบที่ได้มานั้น

ด้วยวิธีคิดให้เป็นภาพเอาไว้ตามที่สมองซีกขวาถนัด

เพราะการคิดให้เป็นภาพตัวชี้วัดก็คือ “ความเข้าใจ”

ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นความจริงของสิ่งนั้นได้ชัดยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์จากการคิดสังเคราะห์ของคุณที่จะได้รับนั้น

มันคือสิ่งที่เรียกว่า #การคิดสร้างสรรค์ นั่นเอง

 

ถ้าสิ่งที่คุณคิดสร้างสรรค์ได้นั้น

คุณทำให้มันเป็น “รูปธรรม” จนนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

สิ่งสร้างสรรค์ก่อนใครเพื่อนที่เป็นผลงานของคุณชิ้นนั้น

มันจะถูกเรียกว่า #นวัตกรรม คำโก้หรูกับเขาได้แน่นอน

 

ต่อไปนี้คุณคงกระหายใคร่จะรู้กันแล้วสิว่า

จะใช้สมองซีกขวาสังเคราะห์สัจธรรมด้วยปัญญาญาณ

เพื่อการเป็นนักคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่

เพื่อเป็นคนชอบธรรมในระดับ #อริยะบุคคล ได้อย่างไร

 

คงต้องติดตามเรียนรู้ในตอนต่อไป

 

กราบพระบาทขอบพระทัยพระบิดาที่ทรงเมตตา

เอเมน สาธุ

#ปัญญาวิสุทธิ์

29/12/2566