#คัมภีร์อนุตรธรรมภาคจิตจักรวาล
(เพื่อยุวจิตจักรวาลยุคสุดท้าย)
พี่ๆน้อง ๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
หลักการใช้ความฉลาดทางปัญญาของสมองนั้น
คุณจะใช้ด้วยระบบอัตโนมัติเหมือนแรกเกิดไม่ได้
โดยเฉพาะความฉลาดทางปัญญาของสมองซีกซ้าย
ซึ่งเป็นด่านแรกที่คุณจะต้องสามารถเข้าถึงมันให้ได้
แล้วจากนั้นคุณจึงจะกดปุ่มเพื่อใช้สมองซีกขวาต่อไป
ความฉลาดของสมองซีกซ้ายในระบบอัตโนมัตินั้น
มันจะสามารถสั่นสะเทือนไปตาม “จิต
3 นึก” ได้เสมอ
เมื่อจิตเกิดอาการ นึกออก นึกเอา
และ นึกเอง
ซึ่งจิตทั้งสามนึกนี้มันจะสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา
ตัวอย่างที่ 1.
เดี๋ยวก็ #นึกออก คือจำเรื่องเก่าๆในอดีตขึ้นมาได้
บางทีก็เป็นเรื่องดีๆในชีวิตบางที่ก็เป็นเรื่องร้ายๆ
พอนึกหรือระลึกขึ้นมาได้ก็เกิดความรู้สึกคือกิเลสตามมา
ถ้านึกถึงเรื่องดีๆในอดีตจิตก็จะรู้สึกชอบหรือพึงพอใจ
ถ้านึกถึงเรื่องร้ายๆในอดีตจิตจะรู้สึกไม่ชอบไม่พึงพอใจ
ตัวอย่างที่ 2.
เดี๋ยวก็ #นึกเอา คือนึกขึ้นมาเฉยๆโดยไม่มีที่มาที่ไปว่า
ตัวกระตุ้นต่อมนึกของจิตคุณในขณะนั้นมันคืออะไรแน่
การนึกเอาของคุณนั้นตัวนึกจะผุดออกมาจากในจิตเอง
คล้ายดั่งดอกบัวที่จู่
ๆก็ชูดอกขึ้นมาให้เห็นเหนือน้ำ
ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นนิสัยการนึกของจิตในสัญญาขันธ์
ที่ถูกถ่ายทอดมาจากอดีตชาติจากการจำได้หมายรู้ไว้
ถ้านึกเรื่องดีๆขึ้นมาได้แสดงว่าเป็นนิสัยที่ดีของจิตคุณ
ถ้านึกเรื่องชั่วๆขึ้นมาแสดงว่าเป็นสันดานไม่ดีของจิตคุณ
ถ้านึกถึงเรื่องดีมากกว่าชั่วแสดงว่าเป็นคนค่อนข้างรักดี
ถ้านึกถึงเรื่องชั่วมากกว่าก็แสดงว่าเป็นคนค่อนข้างรักชั่ว
ตัวอย่างที่ 3.
เดี๋ยวก็ #นึกเอง คือ
“การคิดแทนคนอื่น”
การคิดแทนคนอื่นจะเกิดขึ้นเมื่อเห็นพฤติกรรมของเขา
แล้วก็ทึกทักเอาเองว่าเขาต้องรู้สึกนึกคิดแบบนั้นแบบนี้
ซึ่งเป็นการเดาแบบไม่ใช่เดาก็คือเชื่อตามที่ตนทึกทักนั้น
โดยไม่มีหลักการไม่มีหลักฐานและไม่มีเหตุผลรองรับ
การนึกเองจากการสัมผัสรู้ดูเห็นพฤติกรรมของคนอื่นนี้
ก็มีทั้งนึกดีนึกชอบและนึกชั่วคือนึกไม่ชอบด้วยเช่นกัน
จากตัวอย่างทั้งสามแบบนั้น
คุณจะเห็นได้ว่ามันจะมีทั้ง
“นึกบวกและนึกลบ” เสมอ
โดยถ้า “นึกบวก”
อารมณ์รู้สึกนึกคิดก็จะเป็นบวก
ถ้า “นึกด้านบวก”
อารมณ์รู้สึกนึกคิดก็จะเป็น #ด้านบวก
ซึ่งการนึกบวกกับนึกด้านบวกจะแตกต่างกันคือ
การนึกบวกหรือนึกชอบมันจะเกิดขึ้นตามอารมณ์รู้สึก
หรือเกิดขึ้นตามทัศนคติที่คุณมีต่อบุคคลนั้นเป็นสำคัญ
เช่น ถ้าคุณมี #ทัศนคติ ที่ดีต่อผู้นั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
คุณก็จะมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อเขาคนนั้นได้เสมอ
นี่คือนิยามความหมายของคำว่า
“นึกบวก”
ส่วนการ “นึกลบ”
ก็จะเกิดขึ้นตามอารมณ์รู้สึก
หรือเกิดขึ้นตามทัศนคติที่คุณมีต่อบุคคลนั้นเป็นสำคัญ
เช่น
ถ้าคุณมีอคติต่อบุคคลผู้นั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ไม่ว่าใครคนนั้นจะแสดงกิริยาอาการอะไรออกมาให้เห็น
คุณก็จะมองเขาไปในทางที่ไม่ดีได้เสมอ
นี่คือนิยามความหมายของคำว่า
“นึกลบ”
ส่วนการ “นึกด้านบวก” กับ
“นึกด้านลบ” นั้น
เป็นความฉลาดในการมองโลกหรือมองผู้อื่นที่ตรงจริง
ด้วยการมองโลกหรือมองคนทั้งสองด้าน
โดยยึดหลักการและเหตุผลในการพิจารณามิใช่ทัศนคติ
เป็นการพยายามมองผู้อื่นด้วยเลนส์ใสมิใช่เลนส์สี
เป็นการมองหาความจริงก่อนจะชี้วัดตัดสินคนอื่นว่า
เป็นคนดีด้วยเหตุผลอะไรหรือเป็นคนไม่ดีเพราะอะไร
เป็นการมองโลกด้วยปัญญามิใช่กิเลสตัณหาที่เคยตัว
ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้
เป็นคุณสมบัติของจิตหยาบที่เป็นธรรมดาของมนุษย์
ที่พวกคุณต้องรู้และเข้าใจกระบวนการทำงานของมัน
เพื่อเรียนรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของจิตหยาบของตนไว้
จะได้ใชจิตสามนึกของตนให้ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์
โดยมิให้เสียชาติเกิดหรือเสียทีที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์
ประโยชน์ที่คุณจะได้รับในการใช้จิตสามนึกก็คือ
กิเลสมารจะไม่อาจเข้าแทรกแซงสภาวะจิตของคุณได้
เพราะคุณรู้โครงสร้างกระบวนการทำงานของจิตแล้ว
เมื่อนิสัยทางจิตโดยทั่วไปของพวกคุณเป็นดั่งว่านี้แล้ว
การ “กำหนดนึก”
จึงสำคัญที่คุณต้องทำมันในขั้นต่อมา
โดยคุณจะต้องเลือกเอาสัก 1 นึกใน 3 ตัวนึกเสียก่อนว่า
ในขณะนั้นคุณจะเลือกที่จะหยิบเอานึกตัวไหนมาใช้
เพราะทุกขณะจิตเจ้าสามตัวนึกคือนึกออกนึกเอานึกเอง
มันจะสั่นสะเทือนร่วมกันอยู่ในจิตคุณที่เรียกว่าไม่อยู่นิ่ง
ซึ่งอาการไม่อยู่นิ่งของจิตสามนึกนี้ก็คือซนดั่งลิงนั่นเอง
ถ้าคุณปล่อยจิตของคุณให้มันซนแบบลิงคือไม่นิ่ง
มันจะทำให้พลังการคิดด้วยปัญญาของสมองอ่อนด้อย
เพราะจิตมนุษย์มันจะนึกเพื่อจะคิดได้ที่ละเรื่องที่ละอย่าง
จิตกับสมองมันจะทำงานพร้อมกันมากกว่าหนึ่งเรื่องไม่ได้
คุณจึงต้องฉลาดที่จะเลือกนึกทีละอย่างทีละเรื่อง
เพื่อกำหนดให้สมองคุณคิดแต่เรื่องนั้นเรื่องเดียวให้ได้
ยิ่งถ้านึกเพื่อคิดด้วยจิตที่ว่างจากกิเลสตัณหาอารมณ์ได้
ประสิทธิภาพของจิตที่จะเพิ่มประสิทธิผลการคิดของสมอง
มันจึงจะเป็นความจริงได้ตามต้องการ
#ถ้าคุณต้องการคิดรู้ด้วยสมองซีกซ้าย
กระบวนการทุกอย่างที่เราขยายความมาตั้งแต่ต้นนั้น
คุณจะต้องฝึกทักษะในการใช้จิตตปัญญาให้ได้
ด้วยการรับรู้ความจริงที่พระบิดาทรงเมตตามาข้างต้น
แล้วนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตจริงให้บังเกิดผล
ด้วยการคิดในเรื่องนั้นๆอย่างมีหลักการและมีเหตุผล
คำว่า “มีหลักการ” หมายถึง
1.หยิบมาคิดพิจารณาทีละเรื่อง
เมื่อได้คำตอบแล้วค่อยคิดเรื่องใหม่กันต่อไป
2.จัดลำดับก่อนหลังเรื่องที่คุณจะคิดไว้ล่วงหน้า
3.คิดอย่างต่อเนื่องหรือมีสมาธิในการคิด
4.คิดอย่างรอบครอบและคิดรอบด้าน
หมายถึงคิดทั้งด้านบวกและคิดด้านลบด้วยเสมอ
มิใช่คิดบวกหรือคิดลบตามความเคยตัวกันเท่านั้น
5.มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการคิดที่ชัดเจน
6.ถ้าเป็นการคิดเพื่อต้องการแก้ไขปัญหา
ให้คิดวิธีแก้ไขปัญหานั้นไว้หลายๆวิธีเท่าที่จะคิดได้
หรือเท่าที่เวลาในการคิดมีเพียงพอให้คุณคิด
เมื่อได้คำตอบเป็นวิธีคิดหลายๆวิธีแล้ว
ค่อยตัดสินใจเลือกวิธีการที่คุณเห็นว่าจะใช้ได้ผลที่สุด
เพียงแค่วิธีเดียวส่วนวิธีที่เหลือเอาไว้เป็นแผนสำรอง
7.ในการคิดตัดสินคนหรือตัดสินความนั้น
คุณต้องคิดด้วยจิตว่างจากอารมณ์รู้สึกที่มีต่อพวกเขา
เพื่อป้องกันการลำเอียงหรือเข้าข้างใครบางคน
จนทำให้ตัดสินคนผิดพลาดขาดความเที่ยงธรรมได้
ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้
เป็นวิธีการและหลักคิดด้วยสติปัญญาของสมองซีกซ้าย
โดยที่คุณจะต้องกำหนดนึกเพื่อการคิดให้ได้ทีละเรื่อง
เพราะนอกจากจะมีการนึกให้คุณต้องคิดถึง
“สามนึก”
ทั้งสามนึกนั้นมันยังมีการนึกบวกนึกลบอันมิควรนึกอยู่อีก
ซึ่งคุณจะต้อง
“นึกด้านบวกและนึกด้านลบ” ให้ได้เท่านั้น
ดังนั้น
ถ้าจะใช้สมองซีกซ้ายให้ได้อย่างมีประสิทธิผลแล้ว
คุณจะต้อง #นิพพานกิเลส ให้สิ้นเสียก่อนอื่นเลย
อีกทั้งยังต้องใช้ #มหาสติ ของพระบิดากำกับไว้เสมอ
เพื่อช่วยให้การคิดวิเคราะห์บังเกิดผลสมดั่งหมาย
กราบพระบาทขอบพระทัยพระบิดาที่ทรงเมตตา
เอเมน สาธุ
25/12/2566