21 ตุลาคม 2562

สนทนาประสาจิตจักรวาล 21/10/2019

 #สนทนาประสาจิตจักรวาล

 

พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

 

มรรควิถีที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน

ในการเป็นคนสองมิติ

เพื่อจะเข้าถึงการเป็นมนุษย์ที่สมดุล

ก่อนการหลุดพ้นทางจิตวิญญาณนั้น

ทุกวันนี้ท่านมีอยู่ 2 ทางเลือกด้วยกัน คือ

 

#ทางเลือกแรก

 

เป็นการครองตนตาม "มรรควิถีจิตจักรวาล"

บนเส้นทางของนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง

ในบทบาทของฆราวาส

ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนที่มีครอบครัว

โดยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไปตามปกติ

แต่ปลายทางสุดท้าย คือ "หลุดพ้น"

ออกไปจากอนันตจักรวาลหรือนิพพาน

สามารถกลับบ้านเกิดของจิตวิญญาณได้

โดยไม่ย้อนกลับมาเกิดเป็นมนุษย์โลกอีก

 

หลักการดำเนินชีวิตมี 2 ประการก็คือ

 

#ประการแรก

 

ท่านต้องครองตนอยู่ใน #มหาสติ

ครองเอาไว้ให้ได้ตลอดเวลาในยามตื่น

 

การครอง "มหาสติ"

หมายถึงการ "บวชที่ใจ" ของท่านเอง

ด้วยการ #รู้สติ #มีสติ และ #การใช้สติ

เพื่อยกระดับจิตสามนึกตนเองให้สูงขึ้น

ผ่านการนึกออกนึกเอาและนึกเองทางด้านบวก

สู่การหมุนธรรมจักรในตนเองตามวิถีธรรมชาติ

เพื่อการมีพฤติกรรมด้านบวกต่อคนรอบข้าง

ด้วยการทำให้คนรอบข้างตัวท่านเห็นว่า

ท่านเป็นคนที่มีคุณภาพอันควรคบไว้เป็นมิตร

 

#คนคุณภาพ

ในที่นี้เราหมายถึง

คนที่มีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ

 

1. เป็นคนฉลาด

2. เป็นคนเก่ง

3. เป็นคนดี

 

เมื่อท่านแสดงคุณสมบัติของคนคุณภาพได้

ก็จะช่วยคนอื่นๆให้หมุนธรรมจักรไปกับท่านด้วย

ซึ่งเป็นภารกิจหลักทางจิตวิญญาณของทุกๆคน

ที่ใครจะอ้างไม่รู้ ไม่จำ ไม่ทำ ไม่ได้!!!

 

#ประการที่สอง

 

ท่านต้องครองตนให้พระบิดาทรงเห็นว่า

ท่านเป็นผู้มี "#ปณิธานแห่งการหลุดพ้น" ชัดเจน

 

ขณะใช้ชีวิตในสังคมร่วมกันกับคนรอบข้าง

ท่านจะต้องเรียนรู้ที่จะรักทุกคนทุกสิ่งให้ได้

ไม่ว่าใครคนนั้นจะทำตนไม่น่ารักไม่น่าคบก็ตาม

และในทางกลับกันตัวท่านเองก็จะต้อง

เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนให้คนรอบข้างรักท่านให้ได้

โดยปฏิบัติตาม #ParinyaModel ว่าด้วย 6 ถูก

คือ ถูกคน ถูกวิธี ถูกที่ ถูกเวลา ถูกต้อง และถูกใจ

 

โดยพอจะสรุปได้ว่า "ปณิธานแห่งการหลุดพ้น"

ที่ตั้งสัจจะแล้วจะละจะเลิกไม่ได้

ประกอบด้วยหลักปฏิบัติสำคัญ 4 ประการ คือ

 

1. ต้องรักตนเองและผู้อื่นให้ได้

อันเป็นความรักเพื่อให้มิใช่การรักเพื่อจะเอา

โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆในการให้ทั้งสิ้น

 

ตัวอย่างเช่น

การอดทน อดกลั้น และให้อภัย

ต่อความผิดบาปของผู้อื่นได้เสมอ

โดยไม่มีเงื่อนไขข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น

 

การมีจิตเมตตา กรุณา และมุทิตา

เมื่อรู้เห็นความทุกข์ยากลำบากของผู้อื่น

โดยไม่มีเงื่อนไขข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น

 

2. ต้องให้ผู้อื่นให้เป็น

อันเป็นการให้ทางกายภาพล้วนๆเลย

เช่น ให้เวลา ให้โอกาส ให้ความรู้

ให้ทรัพย์สิ่งของ ให้ผลประโยชน์ และอื่นๆ

ซึ่งเป็นการให้แล้วทำให้ใจท่านมีความสุข

และผู้ได้รับจากท่านก็มีความสุขไปด้วยกัน

 

คุณสมบัติที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้

คือ การ "บวชที่กาย" ทำให้คนรอบข้างแลเห็น

ที่จะช่วยให้พวกเขานอบน้อมประนมมือไหว้

แสดงความเคารพนับถือท่านได้จนสุดจิตใจ

จากพฤติกรรมแห่งการเป็นผู้ให้ของท่าน

และสิ่งดีๆที่ท่านเต็มใจหยิบยื่นให้คนรอบข้าง

 

3. ต้องไม่กระทำการก้าวล่วงใคร

ทั้งด้วยกาย วาจา และจิตใจของท่าน

ไม่ว่าจะด้วยเจตนาจงใจ

ไม่ว่าจะกระทำไปด้วยความขาดสติ

ไม่ว่าจะกระทำไปเพราะความประมาท

 

คำว่า "ก้าวล่วง" หมายถึง

การก้าวก่ายหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น

จนสร้างความวุ่นวายสับสนต่อคนอื่นๆ

จนเป็นอุปสรรคในการสร้างสุขของคนอื่น

จนขัดขวางการสร้างความดีงามของคนอื่น

จนขัดขวางในการสร้างประโยชน์ของคนอื่น

อันนำไปสู่การเสียสมดุลทางจิตใจ

ทำให้คนรอบข้างของท่านหมุนธรรมจักรไม่ได้

กลายเป็นเหตุให้เขา #หมุนกรรมจักร แทน

 

4. ต้องใช้ "จิตตปัญญา" ในการดำเนินชีวิต

ด้วยการสั่นสะเทือนสมองให้เกิดกระบวนการคิด

โดยใช้จิตสามนึกด้านบวกให้เป็น

ถ้าท่านฉลาดนึกตั้งคำถามตนเองได้

ก็ต้องฝึกใช้ปัญญาของสมองคิดในสิ่งที่นึกด้วย

มันจะช่วยให้ท่านก่อกรรมกระทำทุกสิ่ง

ที่ถูกต้องเหมาะสมดีงามได้โดยไม่ก่อกรรม

จนต้องเกี่ยวเวรกรรมกับใครต่อใครให้ยุ่งเหยิง

 

เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่ #คิดดีแล้ว

ท่านเป็นผู้ #ตัดสินใจดีแล้ว ก่อนที่จะกระทำทุกสิ่ง

 

พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

 

ที่เรากล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นมรรควิถีจิตจักรวาล

อันเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เสมือนการบวชทั้งใจและกาย

โดยไม่ต้องหาสถานที่ปลีกวิเวกไปจากสังคม

เป็นเส้นทางดำเนินของนักสู้เพื่อการรู้แจ้ง

เป็นมรรควิถีธรรมชาติที่กลมกลืนไปกับวิถีชีวิต

หญิงหรือชายเด็กสามขวบขึ้นไป

ก็ปฏิบัติตามมรรควิถีเหล่านี้ได้ไม่มีข้อยกเว้น

ที่สำคัญคือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องแกล้งทำ

เป็นคนตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้แต่อย่างใด

 

พี่ๆน้องๆที่รักทั้งหลาย

 

ในตอนต่อไปเราจะกล่าวถึง

แนวทางการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น

ตามวิถีแห่งนักบวชให้ท่านเรียนรู้กันว่า

มีความเหมือนในความต่าง

มีความต่างในความเหมือนกัน

กับมรรควิถีจิตจักรวาลอย่างไรบ้าง

 

กราบพระบาทพระบิดาที่ทรงเมตตา

 

เอเมน สาธุ

ป.วิสุทธิปัญญา

21-10-2019