14 มกราคม 2564

สนทนาประสาจิตจักรวาล 14/01/2021

สนทนาประสาจิตจักรวาล

14/01/2021



พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

เพราะ "จิตหยาบ" คือตัวท่านในขณะยังมีชีวิตอยู่
มีหน้าที่จะต้องยกระดับแรงสั่นสะเทือนของจิต
ให้เพิ่มสูงขึ้นทางด้านบวกเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกัน
กับจิตวิญญาณตัวตนแก่นแท้ที่เร้นอยู่ข้างในให้ได้
โดยจักต้องสั่นสะเทือนเป็น การรักเพื่อให้ เท่านั้น

ท่านทั้งหลายจึงต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า
"ความรักเพื่อให้" นั้นเป็นอย่างไร

เคยมีท่านประธานคณะกรรมการบริหาร
ในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าส่งออกนอก
ได้มาปรารภกับเราถึงเรื่อง ความรัก ว่า

การจัดฝึกอบรมสร้างจิตสามนึกแห่งรัก
ให้แก่ผู้บริหารและระดับผู้จัดการของกลุ่มบริษัท
ด้วยกระบวนการ PsychoShow ของ "ปริญญา"
จะนำพาองค์กรให้เกิดความมั่นคงและมั่งคั่งขึ้น
อย่างแตกต่างไปจากปัจจุบันได้จริงแท้แค่ไหน

เพราะเพียงแค่ปลูกสร้าง "ความรัก"
ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงไปในจิตใจ
ด้วยกระบวนการฝึกอบรมผ่าน จิตสามนึก
มันจะทำให้เจ้านายและลูกน้องทุกคนทุกระดับ
ขยันทำงานมากขึ้น รักองค์กรของตนมากขึ้น
ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น
และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นได้อย่างไร

เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมาตราบทุกวันนี้นั้น
บริษัทในเครือทั้งหมดต่างอยู่รอดปลอดภัยมาได้
มิได้เคยใส่ใจ "ความรักเพื่อให้" ของบุคลากร
เพราะท่านมองว่า "ความรัก" ในจิตมนุษย์
ไม่ว่าแบบไหนล้วนเป็น #กิเลสตัณหา ทั้งนั้น
พอมองเห็นว่าเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาส่วนตน
ทางประธานและผู้บริหารองค์กร
จึงเห็นเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคลากรไปในที่สุด

เมื่อเห็นเป็นเรื่องส่วนตัว
รวมทั้งมองว่า "ความรัก" เป็นเรื่องกิเลสตัณหา
จึงพากันมองข้ามเรื่องนี้ไปทั้งหมด
ทั้งไม่เชื่อว่า "ความรักเพื่อให้" ของทุกคนทุกระดับ
มันมีผลโดยตรงต่อองค์กรที่เป็นองค์รวม
ซึ่งมันจะทำให้ งานได้ผลคนเป็นสุข อย่างแท้จริง

เพราะบุคลากรทุกคนทุกระดับ
จะทำงานด้วยหัวใจสีทอง คือ "ความรักเพื่อให้"
อันเป็นความรักที่บริสุทธิ์ที่เขาจะมอบให้ต่อกัน
ทำให้พวกเขารักองค์กร รักเจ้านาย
รักเพื่อนร่วมงาน รักงานที่พวกเขาทำร่วมกัน
รักลูกค้าและสินค้าที่ร่วมกันผลิต
ด้วย จิตสามนึกแห่งรักที่แท้จริง มิใช่สิ่งอื่น

พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

การทำงานและอยู่ร่วมกันในองค์กร
ด้วย "จิตสามนึกแห่งรักเพื่อให้" ที่เรากล่าวนี้
มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับวิธีที่องค์กรใช้อยู่
ซึ่งจะเน้นที่ ผลประโยชน์ หรือ รางวัลจูงใจ
ที่องค์กรกำหนดขึ้นมาเป็น "เป้า" พิเศษ
เพื่อจูงใจให้บุคลากรเกิด กิเลสตัณหา ในจิตใจ
คือ รู้สึกพึงพอใจและอยากได้รางวัลพิเศษนั้น
โดยที่ผ่านมาองค์กรเห็นว่ามันได้ผลดีอยู่แล้ว

แต่เนื่องจากทุกวันนี้เกิดสถานการณ์โควิด 19
ความต้องการขายสินค้าหรือผลิตยังสูงเท่าเดิมอยู่
แต่ขณะที่ความต้องการจะซื้อของตลาดกลับลดลง
องค์กรทั้งหลายจึงมีปัญหายอดขายต่ำรายได้ตก
จนเริ่มจะวิกฤติมากยิ่งขึ้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆแล้ว

บริษัทต่างๆจึงต้องหาหนทางเอาตัวรอด
ด้วยการคิดหามาตรการใหม่ๆเข้ามาใช้
เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจการค้าขององค์กร
เพื่อลดความเสี่ยง เป็นต้นว่า

1.ปรับลดจำนวนบุคลากรที่เป็นทุนมนุษย์
คัดเอาแต่พนักงานที่ดีและมีคุณภาพไว้
2.ปรับลดต้นทุนด้านการบริหารและการจัดการ
3.ปรับลดต้นทุนการสูญเสียด้านทรัพยากรวัตถุดิบ
4.ปรับเพิ่มผลผลิตผลงานจากบุคลากรให้มากขึ้น
โดยใช้คนน้อยลงแต่ปริมาณและคุณภาพคงเดิม

พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

ใน 4 ประการนี้
มีอยู่หลายประการเลยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร
ซึ่งมันทำให้บุคลากรที่ต้องออกไปจากบริษัทแล้ว
และบุคลากรที่ยังทำงานอยู่เป็นพนักงานอยู่
เกิดความรู้สึกถูก กดดัน ถูกบีบคั้น
จนยังผลให้ "ดัชนีชี้วัดความสุข" ตกต่ำลงชัดเจน

บุคลากรส่วนใหญ่เมื่อรู้สึกว่าตนถูกบีบคั้น
ก็จะพากันมองว่าองค์กรของตนไม่มั่นคง
สถานภาพการเป็นพนักงานก็ไม่แน่นอนไม่มั่นคง
ความเห็นแก่ตัวเพื่อเอาตัวรอดก็จะมีมากขึ้น
ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันก็จะไม่มีให้เห็น
ความทุ่มเทใจกายให้กับงานและองค์กรจะลดลง
ทำให้ "งานไม่ได้ผล" และคนไม่มีความสุข

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า
ในอดีตกาลที่ผ่านมา
องค์กรใช้นโยบาย จ้างคนมาสร้างผลประโยชน์
คนไหนมีคุณภาพให้ประโยชน์ได้ก็จ้างไว้
คนไหนด้อยคุณภาพให้ประโยชน์มิได้ก็คัดทิ้ง
โดยสนใจคุณภาพของคนสองในสามด้านเท่านั้น
คือ บุคลากรที่จะจ้างต้องเป็น คนเก่ง คนฉลาด
แต่มิได้ให้ความสนใจใน ความเป็นคนดี เลย

เอาเป้าหมายเอารายได้ที่บุคลากรอยากได้มาล่อ
เพื่อจูงใจให้เขาอยากได้รางวัลพิเศษนั้น
แล้วขยันทำงานสนององค์กรในที่สุด
โดยท่านผู้บริหารลืมคิดไปว่าถ้าวิธีนี้จะได้ผลนั้น

1.ผลประโยชน์ในเป้าพิเศษที่เอามาล่อใจ
รางวัลนั้นมันจะต้อง "ชิ้นใหญ่" เป็นพิเศษ

2.การจะได้มาซึ่งรางวัลพิเศษชิ้นใหญ่นั้น
มันจะต้องไม่ยากเกินกำลังความสามารถพวกเขา
จากที่เขามีอยู่ทำอยู่เท่านั้น

3.ความร่วมมือพิเศษใดๆที่องค์กรต้องการ
พวกเขาส่วนใหญ่จะยอมรับยอมร่วมมือไม่ได้
ถ้าเป็นวิธีที่จะทำให้พวกเขาลดรายได้
จะทำให้พวกเขาขาดโอกาสหรือเสียประโยชน์

พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

บุคลากรขององค์กรที่กำลังวิกฤติจากโควิด 19
ที่ขาดการพัฒนาจิตสามนึกแห่งรักเพื่อให้
เพราะองค์กรแสวงประโยชน์จากพวกเขาด้านเดียว
โดยมองว่า "ความรัก" เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา
จึงไม่เคยศรัทธาในการปลูกสร้างจิตสามนึกแห่งรัก
ให้แก่บุคลากรทุกระดับชั้นขององค์กรตลอดมา
ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดพลาดร้ายแรงยิ่งนัก

ท่านจึงไม่ต้องแปลกใจว่า
ทำไมพนักงานบางคนจึงฉ้อฉลคดโกงบริษัท
ทั้งๆที่หลายคนไม่เคยมีประวัติเสียในเรื่องนี้

ทำไมพนักงานมากมายไม่มีไฟในการทำงาน
ยังมีอาการเซ็งๆซังกะตายไปวันๆ
ความขยันทำงานกับความมุ่งมั่นลดลง
ความร่วมมือในการช่วยกอบกู้วิกฤติขององค์กร
เป็นสิ่งที่ผู้บริหารได้รับตอบสนองแค่ เสียงเงียบ

ยิ่งบริษัทไม่มีลูกค้า หาออร์เดอร์ไม่ได้
จนบริษัทกลายเป็นลูกหนี้ของพนักงาน
มิใช่ลูกหนี้แหล่งเงินกู้อย่างเดียวด้วยแล้ว
คงไม่ต้องถามหาว่า....อนาคตอันใกล้
จะกู้วิกฤติองค์กรของท่านกันอย่างไร

ถ้าบุคลากรทุกระดับ
ไม่รักองค์กรของตนเลย
ไม่รักงานและเพื่อนร่วมงานมากพอ
คงรักแต่ความมั่งคั่งมั่นคงของตนเอง
เพื่อปากท้องและครอบครัวของตนเท่านั้น
เท่ากับว่าองค์กรนั้นกำลังรอวันหายนะ

ที่เรากล่าวมาทั้งหมดในบทนี้
เพียงเพื่อต้องการชี้แนวคิดและมุมมอง
ให้ท่านทั้งหลายไม่ว่าใครก็ตามได้รู้ว่า
การทำทุกสิ่งร่วมกันในสังคม
ด้วยการสนใจใฝ่หาแต่ประโยชน์ส่วนตน
โดยขาด "ความรักเพื่อให้" ในรูปแบบของ
การอดทน อดกลั้น ให้อภัย ผู้อื่น
การมีจิตเมตตา กรุณา มุทิตาต่อกัน
การแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เสียสละให้กัน
ในยามวิกฤติโลกหรือองค์กรวิกฤตินั้น
มันจะมีแต่ความหายนะให้ต้องเผชิญเท่านั้น

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
14/01/2021