30 เมษายน 2563

ศาสตร์แห่งอริยะ



"ศาสตร์แห่งอริยะ"
*************************
พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

บนเส้นทางแห่งอริยะ
ผู้ปรารถนาจะนำพาจิตวิญญาณของตน
สู่การหลุดพ้นนิพพานไปจากอนันตจักรวาลนั้น

การเป็นสัตว์สังคมอาจทำให้ท่านยุ่งยาก
ในการใช้ชีวิตร่วมกันกับคนอื่นๆอย่างสันติสุข
เนื่องจากท่านต้องใส่ใจในความรู้สึกนึกคิด
และความต้องการไม่ต้องการของคนอื่นๆด้วย
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม
ท่านจงอย่าละทิ้งความเป็นตัวของตัวเอง
ด้วยการฝืนใจกระทำบางสิ่งเพื่อคนอื่น
เพราะมันจะทำให้ท่านบกพร่องด้านจิตสามนึก
ในข้อหาไม่มีสัจจะและไม่ซื่อตรงนั่นเอง
เนื่องจากปากกับใจท่านมันไม่ตรงกัน

จิตวิญญาณของท่านขันอาสามาเกิดเป็นมนุษย์
เครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์
จักต้องซื่อต้องตรงตั้งฉากกับพื้น
เพื่อยื่นเหยียดเศียรเกล้าน้อมถวายพระบิดาฯเสมอ
ถ้าท่านมีวาจากับการกระทำไม่ตรงกับใจ
แม้ท่านจะแสดงออกหรือกระทำต่อผู้ใดก็ตาม
มันคือความไม่ซื่อตรงต่อพระองค์ด้วยเช่นกัน
พฤติกรรมมนุษย์มิอาจพ้นจากสายพระเนตรไปได้
แม้มนุษย์จะหลับหูหลับตากระทำชั่วก็ตาม

ดังนั้น
ท่านทั้งหลายจึงต้องรักษาสัจจะ
ด้วยการกล่าวตรงใจทำจริงจังตามที่คิดเสมอ
รู้ก็บอกว่ารู้ จริงก็บอกว่าจริง ใช่ก็บอกว่าใช่
กล่าววาจาออกไปให้ตรงกับที่คิดในใจเท่านั้น

ถ้าหากพิจารณาแล้วว่า
การกล่าวความจริงออกไปจะมีผลเสียเกิดขึ้น
ท่านก็เลือกที่จะไม่กล่าวหรือกล่าวไม่ครบ
โดยเลือกกล่าวความจริงเพียงบางส่วนก็ได้
มันก็ยังมิได้ทำให้ท่านผิดสัจจะหรือไม่ซื่อสัตย์
เพราะท่านทำเช่นนี้ก็เพื่อไว้ไมตรีต่อกัน
เพื่อรักษาหน้ารักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันไว้
มิได้ทำไปเพื่อหาประโยชน์ส่วนตนแต่อย่างใด
ความผิดบาปก็จะไม่เกิดขึ้นต่อจิตวิญญาณท่าน

นอกจากนั้น
ปัญหาในการใช้ชีวิตเป็นสังคมของมนุษย์
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการไม่เชื่อใจในกันและกัน
คำว่า "ไม่เชื่อใจ" มันมาจากคำสองคำรวมกัน
คือคำว่า "ไม่เชื่อถือ" กับคำว่า "ไม่ไว้ใจ"

เหตุแห่งการไม่เชื่อถือและไม่ไว้ใจมีมากมาย
เช่น ไม่เชื่อถือเพราะเคยโกหกเขามาแล้ว
ที่ไม่เชื่อถือเพราะเขาเคยทำตามแล้วล้มเหลว

เหตุแห่งการไม่ไว้ใจก็มีหลายอย่าง
เช่น ไม่ไว้ใจเพราะเป็นคนแปลกหน้
ไม่ไว้ใจเพราะบุคลิกลักษณะท่าทางมีพิรุธ
ไม่ไว้ใจเพราะมีบางสิ่งชวนสงสัย เป็นต้น

หากท่านสังเกตให้ดีก็จะพบว่
เหตุแห่งการไม่เชื่อถือก็คือเป็นผู้มีประวัติไม่ดี
เหตุแห่งการไม่ไว้ใจเพราะความระแวงสงสัย
ซึ่งใครจะห้ามใครให้เชื่อใจใครไม่เชื่อใจใคร
ก็คงจะห้ามกันขอร้องกันคงจะไม่ได้

ทางออกของคนส่วนใหญ่
ที่มิใช่พฤตินิสัยแห่งผู้เป็นอริยะสมควรทำ
แต่ก็มักจะปฏิบัติกันก็คือการใช้วิธี สาบาน


พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย

โบราณว่าไว้ว่าวาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
คนที่พูดความจริงก็ไม่ต้องตาย
ถ้าฉลาดใช้ปัญญาในการพูด
คือต้องคิดทุกครั้ง คิดหน้าคิดหลัง
คิดอย่างรอบครอบก่อนที่จะพูดออกมา
มิใช่นึกแล้วพูดโดยพูดทุกสิ่งที่ท่านนึกคิด

ที่ท่านต้องคิดพิจารณาก่อนจะพูดอะไรออกมา
ก็เพื่อค้นหาคำพูดที่สั้นกระชับเข้าใจง่าย
เมื่อกล่าวออกไปแล้วไม่ทำให้คนฟังสับสน
กล่าวออกไปแล้วไม่ทำให้คนฟังเข้าใจผิด
กล่าวออกไปแล้วไม่ทำให้คนฟังเสียสมดุล
กล่าวแล้วจะเข้าใจตรงความต้องการของท่าน

ท่านจงอย่ากล่าวคำสาบานเลย
เช่น สาบานว่าข้าฯขอ "เอาหัว" เป็นประกัน
ถ้าท่านยังไม่สามารถสั่งเส้นผมของท่าน
ให้เปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีหงอกขาว
หรือเปลี่ยนจากสีหงอกขาวให้เป็นสีดำ
ได้ตามสั่งแม้แต่เพียงเส้นเดียว

ท่านจงอย่ากล่าวคำสาบานเลย
เช่น อ้างเอาสวรรค์มาสร้างความเชื่อใจ
เอาสวรรค์ของสูงมาเป็นสักขีพยาน
เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นที่ประทับของพระเจ้า
ซึ่งท่านมิบังควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง

ท่านจงอย่ากล่าวคำสาบานเลย
เช่น อ้างเอาพระธรณีมาเป็นสักขีพยาน
เพราะพระธรณีเป็นที่วางพระบาทของพระองค์
ซึ่งท่านก็มิบังควรกระทำเช่นเดียวกัน

ท่านทั้งหลายจึงต้องรักษาสัจจะ
ด้วยการกล่าวตรงใจทำจริงจังตามที่คิดเสมอ
รู้ก็บอกว่ารู้ จริงก็บอกว่าจริง ใช่ก็บอกว่าใช่
กล่าววาจาออกไปให้ตรงกับที่คิดในใจเท่านั้น

ถ้ากล่าวเกินไปจากที่ว่านี้แล้ว
คำกล่าวนั้นก็มาจาก "มาร"
มิได้เกิดจาก "ท่าน" แล้วล่ะนะ

กราบพระบาทพระบิดาฯที่ทรงเมตตา

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
30/04/2020