บทความจากอดีตเมื่อ (29/01/2016)
ที่เรากล่าวไว้ในห้องเรียนนี้
จะผ่านมาสักกี่ปีก็ยังเป็นสัจจะอยู่
ที่เรากล่าวไว้ในห้องเรียนนี้
จะผ่านมาสักกี่ปีก็ยังเป็นสัจจะอยู่
"เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม
จึงหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
จึงหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน"
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน"
พี่ๆน้องๆที่รักทั้งหลาย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
พุทธวจนะบทนี้ทรงหมายความว่ากระไรบ้าง
1.ประโยคที่ว่า...
"เพราะละราคะได้
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี"
อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี"
พระองค์ทรงหมายความว่า
ถ้าผู้ใดสามารถ "ละวาง"
ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบซึ่งเป็นราคะกิเลส
ใน รูป รส กลิ่น เสียง และกายสัมผัส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
การสั่นสะเทือนให้เกิด"เวทนา"ก็ย่อมไม่มี
ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบซึ่งเป็นราคะกิเลส
ใน รูป รส กลิ่น เสียง และกายสัมผัส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
การสั่นสะเทือนให้เกิด"เวทนา"ก็ย่อมไม่มี
เมื่อไม่มี "เวทนา" เกิดขึ้น
เหตุให้จิตสั่นสะเทือนทางอารมณ์
จนเกิดเป็น "พลังงานจิต"
ในรูปของคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กด้านลบ
ซึ่งเป็นผลกรรมในมิติทางพลังงาน
ที่พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า "วิญญาณ"
มันก็จะไม่ถูกผู้นั้นผลิตสร้างขึ้นมาได้
ตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวเอาไว้ว่า
"อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี"
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี"
ทรงหมายถึงว่า...
ถ้าใครดับเวทนาได้แล้ว
เหตุแห่งการเกิดขันธ์ที่ 5
อันหมายถึง "ที่ตั้ง" ของวิญญาณ
ก็ย่อมจะไม่มีด้วยเช่นกัน
เหตุแห่งการเกิดขันธ์ที่ 5
อันหมายถึง "ที่ตั้ง" ของวิญญาณ
ก็ย่อมจะไม่มีด้วยเช่นกัน
2.ประโยคที่พระพุทธองค์
ทรงกล่าวต่อเนื่องไว้อีกก็คือ
"วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม
จึงหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง"
พระองค์ทรงหมายความว่า
ถ้าผู้ใดสามารถดับเวทนาคือราคะกิเลสได้
ผู้นั้นก็จะสามารถดับตัณหา
ซึ่งเป็นที่มาแห่งอารมณ์ได้
และที่ดับทั้งหมดได้ หรือ"หลุดพ้นไป"
ก็เพราะจิตไม่มีการปรุงแต่ง
เมื่อได้รับรู้ "อะไรอะไร" นั่นเอง
ผู้นั้นก็จะสามารถดับตัณหา
ซึ่งเป็นที่มาแห่งอารมณ์ได้
และที่ดับทั้งหมดได้ หรือ"หลุดพ้นไป"
ก็เพราะจิตไม่มีการปรุงแต่ง
เมื่อได้รับรู้ "อะไรอะไร" นั่นเอง
3.ประโยคที่ทรงกล่าวว่า...
"เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน"
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว
เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน"
ทรงหมายความว่า...
ถ้าผู้ใดสามารถดับราคะกิเลสเวทนาได้
จนยังผลให้ดับอารมณ์หยาบๆรายวันได้ด้วย
มันคือ "การหลุดพ้น" ไปจาก
การก่อ "ผลกรรม" ได้อย่างสิ้นเชิง
สภาวะจิตของผู้นั้นก็จักหนักแน่นมั่นคง
จนยังผลให้ดับอารมณ์หยาบๆรายวันได้ด้วย
มันคือ "การหลุดพ้น" ไปจาก
การก่อ "ผลกรรม" ได้อย่างสิ้นเชิง
สภาวะจิตของผู้นั้นก็จักหนักแน่นมั่นคง
เพราะสภาวะจิตหนักแน่นมั่นคงนี่แหละ
มันจะนำไปสู่ความมี "ปีติยินดี" ของจิต
เมื่อจิตมีปิติยินดีหรือมีความสุขสงบแล้ว
คนผู้นั้นก็จักเป็นมนุษย์ที่สมดุล
เมื่อคนผู้นั้นสามารถรักษาสมดุลของจิต
เอาไว้ได้ตลอดเวลาแล้ว
ก็จักดับการเกิดดับของเวทนาและอารมณ์
ได้อย่างสิ้นเชิงในบั้นปลาย
นี่คือสภาวะของ "นิพพานก่อนตาย"
ของคนผู้นั้นโดยแท้
4.ทั้งหมดที่เรากล่าวมา
เป็นการถอดรหัสนัยความหมาย
แห่งพุทธวจนะอีกบทหนึ่งที่ทรงตรัสไว้
เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้วให้ท่านรู้
เป็นการถอดรหัสนัยความหมาย
แห่งพุทธวจนะอีกบทหนึ่งที่ทรงตรัสไว้
เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้วให้ท่านรู้
เราได้สื่อพระโอวาทจากพระบิดา
มาสอนพวกท่านในเรื่องพวกนี้
ตั้งสามสิบปีที่ผ่านมาแล้ว
เพียงแต่มิค่อยมีผู้ใดใส่ใจในคำสื่อสอน
เพราะมัวยึดติดอยู่กับตัวตนพระศาสดา
เพราะมัวแต่ยึดติดตัวอักษรในพระคัมภีร์
ทั้งๆที่ยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งกันอยู่เลย
ป.วิสุทธิปัญญา
29-1-2016