05 ตุลาคม 2560

สนทนาประสาจิตจักรวาล 11


#สนทนาประสาจิตจักรวาล

พี่ๆน้องๆที่รักทั้งหลาย
เราขอกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า

ธรรมะที่ท่านทั้งหลายต่างศึกษาเรียนรู้กันนั้น
ล้วนเป็น "ความจริง" ที่เรียกว่าสัจธรรมทั้งสิ้น

สัจธรรม มีอยู่ 3 ระดับ คือ
1.โลกียธรรม
2.โลกุตรธรรม
3.อนุตรธรรม

ในบทนี้....
เราจะกล่าวถึงโลกียธรรม
อันเป็นสัจธรรมเบื้องต้นก่อน

#โลกียธรรม
เป็นความจริงขั้นพื้นฐาน
ที่ทุกท่านสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

โดยท่านจักต้องหมั่นเพียรเรียนรู้
เพื่อให้ได้รู้ว่า "อะไรเป็นอะไร"
เพื่อสร้างความเก่ง ความฉลาด
และความเป็นผู้รอบรู้ให้ตนเอง
ให้มากที่สุดเท่าที่ท่านจะเข้าถึงได้
จนตลอดชั่วชีวิตนี้เลย

โดยท่านต้องใช้กลไกอายตนะทั้ง 6 
ทำงานร่วมกันกับ "จิต" 
และสติปัญญาของสมองซีกซ้าย
เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการเรียนรู้

กล่าวคือ...
ท่านจักต้องมีความสามารถในการ
เลือกสัมผัสรู้ดูเห็นทุกสรรพสิ่งทุกเรื่องราว
แล้วนำมาวิเคราะห์แยกแยะ
เพื่อให้ได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

คำว่า "อะไรเป็นอะไร" หมายถึงรู้ว่า
ความรู้ที่เป็นความจริงที่ตนรับรู้อยู่นั้น 
มันคืออะไร มันเป็นเช่นไร มันคืออย่างไร

เมื่อได้รู้และเข้าใจความจริงนั้นแล้ว
ก็นำเอาความรู้ที่เป็นจริงนั้นมาแยกแยะ
ด้วยวิธี #Chick #Model ของ "ปริญญา"
ซึ่งเป็นวิธีที่ได้จากบุคลิกของไก่นั่นเอง
เพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่ท่านควรรู้ให้พบ
โดยคัดเขี่ยเอาความรู้จากประสบการณ์นั้น
ที่รู้แล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรทิ้งไป

ไก่จะทำการคัดเขี่ยกรวดหินดินทรายทิ้งไป
เพื่อจะค้นหาเมล็ดธัญพืชและอาหาร
ซึ่งจะขยันคุ้ยเขี่ยไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบ
โดยที่ไก่จักต้องหูไวตาไวฉลาดแยกแยะ

โลกียธรรมก็เปรียบได้ดั่งอาหารของไก่
ซึ่งท่านจะค้นพบได้ก็ต้องฉลาดแยกแยะ
ออกมาจากความจริงที่อยู่แวดล้อมตัวท่าน
ในทุกประสบการณ์และทุกสถานการณ์

โดยท่านต้องมองทุกสิ่งไปตามความจริง
ต้องมองหาที่มาที่ไปของสิ่งนั้นให้พบ 
ต้องมองให้เห็นทั้งต้นสายไปจนถึงปลายเหตุ
ต้องมองให้ชัดเจนในรายละเอียด
ต้องมองด้วยหัวใจที่เป็นกลาง
คือ ไม่มองอย่างลำเอียงไปตามอารมณ์รู้สึก
และความเชื่อของตัวเองเด็ดขาด

การเรียนรู้ในแบบบทที่ว่ามานั้น
เป็นการเรียนรู้เพื่อค้นหาความจริงว่า
อะไรเป็นอะไรและเป็นอย่างไร
อะไรเป็นบาปบุญคุณโทษ
อะไรถูกต้องเหมาะสมดีงาม
อะไรไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมไม่ดีงาม
แล้วเก็บจำความรู้นั้นไว้ใช้ในชีวิตจริง

เช่น การมองเห็นคนเดินตากฝน
ในขณะที่ฝนกำลังตกแล้วเปียกปอน

นี่ก็คือ "ข้อมูล" ที่ได้จากการใช้ตามอง
ร่วมกับการใช้จิตปัญญาของสมองซีกซ้าย
จนสามารถรู้ความจริงว่า "เห็นอะไร"
แล้วจากนั้นก็พิจารณาด้วยปัญญาต่อไปว่า
ที่ตนเห็นอยู่นั้นเป็นพฤติกรรมที่
ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
เพื่อจดจำไว้เป็นแบบอย่างต่อไป

ดังนั้น
ความรู้ทั้งหลายที่สัมผัสรู้ดูเห็นมาได้
ด้วยกลไกอายตนะกับจิตตปัญญาเบื้องต้น
เป็นความจริงในระดับโลกียะทั้งสิ้น
โดยความรู้เหล่านี้ทุกคนต้องเรียนรู้
ไม่เรียนรู้ไม่ได้

เพราะเหตุว่า
สัจธรรมขั้นสูงกว่า คือ โลกุตรธรรมนั้น
มนุษย์จะต้องเรียนรู้จากโลกียธรรมเท่านั้น
อันเป็นการต่อยอดองค์ความรู้
ในลักษณะของการเจียระไนโลกียธรรม
ให้มีหลายเหลี่ยมมุมนั่นเอง

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
5-10-2017