06 สิงหาคม 2560

Question การมีจิตว่างเป็นสุญญตา


ตอบคำถาม:

************

K.Dhamrongsak Raja  

กราบขอบพระทัยองค์พระเป็นเจ้า

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ปริญญา

ที่เมตตาสื่อสอนธรรมะที่เป็นประโยชน์

ต่อจิตวิญญาณของเรา


ขออนุญาตเรียนท่านอาจารย์ฯว่า 

#การมีจิตว่างจากสภาวะสุญญตา"นั้น

มีความหมายว่าอย่างไรครับ💐


Answer:

1.คำถามของท่าน 

ที่ถูกต้องกว่าน่าจะเป็นว่า

#การมีจิตว่างเป็นสุญญตา

มีความหมายว่าอย่างไรมากกว่านะ


2.คำว่า "จิตว่าง" นั้น เราหมายถึง

การที่จิตของท่าน "ว่างไปจากสิ่งที่มีอยู่"


3."สิ่งที่มีอยู่" ของจิตนั้น เราหมายถึง

#กลไกอายตนะภายนอกห้าและภายในหนึ่ง

รวมเป็นอายตนะทั้ง 6 นั่นเอง


ในการบ่งชี้ของมนุษย์ด้านกายภาพ

เราได้เรียกอายตนะทั้ง 6 ว่า

ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และจิต

ซึ่งเป็นเครื่องมือสัมผัสรู้ดูเห็นของจิตนั่นเอง


4.แต่เครื่องมือของจิตเหล่านี้

ต่างมีหน้าที่เหมือนกัน คือ "ผัสสะ"

เพื่อให้เกิดการรับรู้ดูเห็นของจิตทั้งนั้น

เช่น ตา เอาไว้ดูภาพ

หู เอาไว้ดูเสียง

จมูก เอาไว้ดูกลิ่น

ลิ้น เอาไว้ดูรส

กาย เอาไว้ดูความร้อนเย็น

จิต เอาไว้ดูอาการของจิต เป็นต้น


เพราะเป็นเช่นนี้เอง

เราจึงรวมเรียกกลไกอายตนะทั้ง 6

ที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า #ตา


5.คำว่า "สุญญ" แปลว่าว่าง 

ดังนั้น คำว่า #สุญญตา เราจึงหมายถึง


#ว่างไปจากตาทั้งหกที่ท่านมีอยู่"


แปลว่าในความจริงของท่านนั้น

ตา มิได้บอด หู มิได้หนวก

จมูก มิได้ตัน ลิ้น มิได้ตายด้าน

ผิวกาย มิได้เฉยชา จิต ก็มิได้ตายด้าน

แต่กลไกเหล่านี้มันมีอยู่แต่เหมือนไม่มี


6."การมีอยู่แต่เหมือนไม่มี" แปลว่า

อายตนะทั้ง 6 ยังสามารถใช้งานได้

นั่นคือ ใช้สัมผัสรู้ดูเห็นทุกสิ่งได้ตามปกติ

เพื่อการสัมผัสแล้วส่งข้อมูลไปให้จิตรู้

เมื่อจิตรู้แล้วก็นำข้อมูลนั้นๆไป "เรียนรู้"

เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป


วันๆท่านทั้งหลายสามารถทำเช่นนี้ได้

จิตของท่านก็เป็น #สุญญตา แล้ว


7.ในทางกลับกัน


ถ้าท่านใช้อายตนะทั้งหก

สัมผัสรู้ดูเห็นสรรพสิ่งใดเรื่องใด

จนแม้กระทั่งนึกเองคิดเอาเองด้วยจิต

จนรับรู้ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในจิตของท่าน

แล้วจิตของท่านก็สั่นสะเทือนเพื่อ "รับเอา"

จากการปรุงแต่งของจิตเองเข้า

จนเกิดเป็นอารมณ์รู้สึกบวกลบ

ไปตามที่สภาวะจิตปรุงแต่งดังกล่าว


ถ้าชอบใจ ก็คล้อยตาม

ถ้าไม่ชอบใจ ก็ต่อต้าน

จนไม่สามารถนำเอาสิ่งที่จิตรับรู้ได้

ไปใช้เพื่อให้เกิด "การเรียนรู้" ได้เลย

เพราะจิตรับรู้แล้วมีการ "รับเอา" เกิดขึ้น


นี่จึงเสมือนหนึ่งว่า

อายตนะทั้งหกของท่าน "ไม่ว่าง" 

เพราะสัมผัสรู้ดูเห็นทีไร

จิตใจเสียสมดุลไปทุกทีนั่นแหละ


8.ดังนั้น

จิตที่เป็นสุญญตาจึงหมายถึง

จิตที่ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเร้าใดๆ


เห็นสักแต่ว่าเห็น

ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน

ได้ลิ้มรสก็สักแต่ว่ารู้รส

ได้กลิ่นก็สักแต่รู้ว่ากลิ่นอะไร

ได้สัมผัสกายก็สักแต่ว่ารู้ร้อนรู้หนาว

นึกได้คิดได้ก็สักแต่รู้ว่าตนนึกคิดอะไร


ถ้าไม่นำเอาสิ่งที่รับรู้ได้ไปปรุงแต่ง

จนเสียสมดุลทางจิตใจ

แทนการเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร

สภาวะจิตของท่านก็เข้าถึงสภาวะธรรม

ที่เรียกว่า "เป็นสุญญตา" โดยแท้


เอเมน สาธุ

ป.วิสุทธิปัญญา

5-08-2017