21 มกราคม 2560

อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา



เราขอกล่าวความจริงกับท่านทั้หลายว่า....

มีคำกล่าวอยู่ 3 คำที่ผู้รับเอาแนวทาง
แห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
พึงต้องสดับรับรู้เอาไว้ว่า
พระองค์ทรงหมายไว้อย่างไร.....
นั่นคือ คำว่า

อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

1.อนิจจัง
หมายถึง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ในทุกสรรพสิ่งด้านมิติโลกทางกายภาพ
เพราะเป็นมายาจากการไม่เที่ยงของแก่นแท้
เช่น จิตที่เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์รู้สึกนึกคิด
จะยังผลให้พฤติกรรมภายนอกของผู้นั้น
ผันแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะของจิตนั้น
นี่จึงเป็นที่มาของประโยคเด็ดที่ว่า
"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

2.ทุกขัง
หมายถึง
สิ่งที่ท่านเมื่อได้พบพานผ่านเผชิญในชีวิต
แล้วทนได้ยาก......

3.อนิจจัง ทุกขัง
หมายถึง
ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
หรือความผันแปรเปลี่ยนไปใดๆ
ในมิติโลกทางกายภาพในชีวิตของท่าน
ล้วนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น
หากทุกข์หมายถึง "ทนได้ยาก"
เช่น การเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นต้น

4.อนัตตา
หมายถึง
ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
หรือความผันแปรเปลี่ยนไปใดๆ
ในมิติทางพลังงานด้านของแก่นแท้
อันเป็นคุณสมบัติหลักของจิตวิญญาณ
ผู้เป็นตัวตนแก่นแท้นั้น
ที่จะต้องมีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา
เพราะจักต้องสร้างแสดง
อัตตาตัวตนและรูปลักษณ์
อันเป็นมายาแห่งตนไว้
เพื่อแสดงว่า...
มีตนอยู่
ตนดำรงอยู่
ตนเปลี่ยนแปลงอยู่

ทั้งจิตมนุษย์และจิตวิญญาณเป็น "อนัตตา"
เนื่องจากจิตหยาบ...
เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณ
และทั้งจิตหยาบและจิตวิญญาณ
ต่างล้วนมีคุณสมบัติเป็น "อนัตตา"
คือ ไม่หยุดนิ่ง
โดยจะต้องสั่นสะเทือนตนเองอยู่ตลอดเวลา

ขณะที่จิตหยาบจะกำหนดการสั่นสะเทือน
ทางอารมณ์รู้สึกนึกคิดได้ด้วยตนเอง
โดยจะเปลี่ยนผันแปรไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง
เปลี่ยนไปตามสิ่งเร้าผ่านอายตนะทั้งหกนั่นแหละ

ขณะที่จิตวิญญาณแก่นแท้
ก็จะสั่นสะเทือนไปตามคุณสมบัติเดิมแท้ของตน
อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าผ่านกลไกอายตนะใดๆ
ตนมีคุณสมบัติอย่างไรก็จะมีหน้าที่
สั่นสะเทือนไปตามนั้น

จิตมนุษย์ต้องยกระดับการสั่นสะเทือนสู่แก่นแท้
หมายถึง
หน้าที่ของจิตหยาบนั้น...
จักต้องยกระดับการสั่นสะเทือนในตนเอง
ให้สูงขึ้นจนเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิตวิญญาณ
เพื่อรับเอาคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ
มาใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์แห่งกรรมตนเอง
ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้จงได้

การจะยกระดับการสั่นสะเทือนตนเอง
ให้สูงขึ้นทางด้านบวกของจิตหยาบนี้
คือการ รักได้ ให้เป็น ไม่ก้าวล่วงใคร
เมื่อมีเงื่อนไขดีหรือร้ายที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้
เป็นบททดสอบผ่านกลไกอายตนะ
ให้ได้เผชิญกันในชีวิตประจำวันนั่นเอง

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของจิตหยาบ
อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกายภาพ
เป็นการแสดงออกและกระทำใดๆทั้งดีและร้ายนั้น
หากไม่มี "มหาสติ" แล้วจะนำความทุกข์มาให้เสมอ

ทุกข์ อันเกิดจากความไม่สงบแห่งจิตตน
ทุกข์ อันเกิดจากความไม่สงบแห่งกายตน
ทุกข์ อันเกิดจากความไม่สงบสุขของคนอื่น
ทุกข์ อันเกิดจากความไม่สงบ
แห่งจิตวิญญาณตนเองและจิตวิญญาณของคนอื่นๆ
ที่ต้องได้รับผลจากการสั่นสะเทือน
ของจิตหยาบและการกระทำใดๆของท่านเอง เป็นต้น

ที่เรากล่าวมานี้....
คงจะพอทำความเข้าใจกันได้เป็นสังเขปนะ

เอเมน...สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา

21-1-2017