12 พฤษภาคม 2560

จิตจักรวาลอ่านธรรม : อันรูปลักษณ์มายาแห่งบรรพชิต



อันรูปลักษณ์มายาแห่งบรรพชิต
มีสิ่งชวนคิดชวนตรอง ในมุมมองแห่งฆราวาส
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแฝงเอาไว้ในสำแดง
รวมเบ็ดเสร็จทั้งสิ้น 9 ประการด้วยกัน
โดยสำแดงไว้ภายนอก 4
สั่นสะเทือนอยู่ข้างใน 5
รวมความโดยสังเขปว่าดั่งนี้
เราจะกล่าวความจริงให้ท่านรู้ว่า
สำหรับมนุษย์โดยทั่วไปนั้น
สิ่งที่ง่ายที่สุดในการชำระจิต คือ "ราคะจริต"
ราคะจริต
คือ การที่จิตยึดติดความพึงพอใจ
ในรูป รส กลิ่น เสียง และกายสัมผัส
ถ้าหากเป็นบุรุษก็จะยึดติดในความหล่อ
ความเท่ห์ ความสำอาง
โดยเน้นที่รูปร่างหน้าตาเอาไว้ก่อน
ดังนั้น
การโกนผมบนศีรษะจนเกลี้ยงเกลา
กับการโกนหนวดเคราและขนคิ้ว
จึงเป็นการสละหรือละหรือ "ปลง" ราคะจริต
เพื่อสำแดงให้ตนเองและผู้อื่นรู้ว่า
ตนนั้นได้ละวางมันไปแล้วนั่นเอง
การออกบวชเป็นการมุ่งทุ่มเทเวลา
ให้กับการศึกษาธรรมะและการประพฤติธรรม
ถ้าผมไม่ยาว หนวดเคราไม่รุงรัง
ท่านก็จะมีเวลาให้กับตนเอง
เพื่อการประพฤติธรรมได้อย่างเต็มที่มากขึ้น
เพราะไม่ต้องไปเสียเวลากับการดูแล
ให้เรียบร้อยไม่รุ่มร่ามเลย
นอกจากนั้น
การมีศีรษะโล้นขนคิ้วก็ไม่มีเยี่ยงนี้
ก็จักเป็นเครื่องป้องกันที่ดี
เพื่อมิให้เป็นเงื่อนไขเร้าใจ
กระตุ้นให้เกิด "ราคะจริต" แก่เพศตรงข้าม
ที่จะเกิดการหลงเสน่ห์ดูเท่ห์ดูงาม
อันนำไปสู่การเกิด "ราคะจริต" กันต่อไปอีก
2.ครองไตรจีวร
การบวชพระเป็นการละแล้วซึ่งอาสวกิเลส
หนึ่งในนั้นก็คือการละวางซึ่ง
พัสตราภรณ์แต่งกายที่หรูหราราคาแพง
ที่ต้องแต่งกันตามแบบแฟชั่นให้ทันสมัยเสมอ
โดยหันมาใช้ผ้าแค่สามผืนพันกาย
ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความพอเพียง
ไม่ต้องดิ้นรนในการทำมาหาเงินเพื่อซื้อหามัน
อันเป็นการดับ "ตัณหา" และความใคร่ที่จะมี
ภายในจิตใจตนเองได้อีกด้วย
นอกจากนั้น
การครองจีวรก็ยังเป็นการปิดกั้น
มิให้เกิดการกระตุ้นราคะจริตได้ง่ายนัก
ซึ่งอาจนำไปสู่ตัณหาและความใคร่ทางกามารมณ์
ของเพศตรงข้ามได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เพราะแฟชั่นการแต่งกายทันสมัย
กับเสื้อผ้าสวยงามราคาอันแสนแพงนั้น
มันมักก่อให้เกิดกิเลสตัณหาในจิตใจ
ทั้งของผู้สวมใส่และผู้พบเห็นได้เสมอ
เพียงผ้าสามผืน
ที่มีสีเดียวกันกับแสงแดดยามรุ่งอรุณ
ที่ชาวบ้านแลเห็นกันอยู่ทุกเช้าตรู่แล้วชื่นใจ
เพียงเท่านี้ก็พอเพียงแล้ว
ถ้ามนุษย์รู้จักพอเพียง
โดยเฉพาะรู้จักพอมีพอกินพอใช้
อยู่ง่าย กินง่าย ไม่สะสม
ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเพียงบาตรขนาดย่อมแค่หนึ่งใบ
เพื่อเอาไว้รองรับอาหารจากญาติโยมผู้ใจบุญ
สำหรับการฉันบริโภคของตนแค่วันต่อวัน
ท่านก็จักเรียนรู้ที่จะละวาง "ความโลภ"
เพราะการรู้จัก "พอ" ลงได้ในทันที
ซึ่งท่านยังจะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อีกว่า
ถ้าเตรียมภาชนะที่เป็น "บาตรขนาดใหญ่"
เพื่อหมายจะใส่สะสมอาหารได้เยอะๆนั้น
มันยังจะเป็นการเพิ่มภาระ
และสร้างปัญหาใหม่ให้ตนเองด้วย
ภาระ คือ บาตรใหญ่ใส่อาหารได้เยอะ
ชาวบ้านเห็นบาตรใหญ่
ก็จะพากันตักเติมลงไปมากๆ
ศรัทธาพระมากก็ยิ่งใ่สมากด้วยคิดว่าได้บุญเยอะ
พื้นที่บาตรว่างมากชาวบ้านก็ใส่ไม่อั้น
ชาวบ้านจะ "ลืม" คิดไปว่า
พระจะอุ้มบาตรหนักไปไหม
วัดที่พระจำวัดอยู่นั้นมันไกลหรือใกล้แค่ไหน
กว่าจะอุ้มบาตรกลับถึงวัด
มันจะเป็นภาระของพระอันหนักใหญ่หรือเปล่า
ชาวบ้านมีแต่ปิติใจที่ได้ตักบาตรพระเท่านั้น
ส่วนปัญหาใหม่ของพระบาตรใหญ่ก็คือ
ของที่ญาติโยมตักใส่ลงไปในบาตรทั้งหมดนั่น
มันจะกลายเป็น #ของร้อน สำหรับพระไปเลย
ยิ่งอาหารโดยเฉพาะข้าวสุกเต็มบาตรมากเท่าไหร่
ของในบาตรก็จะยิ่งกลายเป็นของร้อนมากเท่านั้น
ถ้าผู้เป็นนักบวชมีสำนึกพอเพียง
ไม่ใช้บาตรใหญ่ให้ของในบาตรหนักเกิน
ไม่ใช้บาตรใหญ่ให้ของในบาตรเป็นของร้อน
ที่จะเพิ่มภาระและสร้างปัญหาใหม่ให้ตนเองแล้ว
มันยังจะช่วยให้ท่าน ละโลภ ได้ด้วยสิ
นั่นหมายความว่า
ผู้ครองจีวรสีเดียวที่เป็นผ้าเพียงสามผืนนั้น
จักต้อง มีสำนึกพอเพียง ตามการถือครองด้วย
มิใช่ถือครองกันตามบทบัญญัติหรือขนบประเพณี
มิเช่นนั้นแล้วแม้จะสมมติตนเองว่าเป็นพระ
ท่านก็มิอาจจะละวางความโลภลงได้เลย
เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
การเป็นนักรบแห่งแสงสว่างนั้น
วิธีอบรมจิตตนเองส่วนใหญ่
จะกระทำผ่านกิจกรรม "กรรมฐาน"
ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางเท็คนิกในลักษณะนั่งปฏิบัติ
โดยใช้วิธีปิดอายตนะภายนอกทั้งห้า
แล้วหันมาเน้น "อบรมจิต" ที่เป็นอายตนะภายใน
อย่างคร่ำเคร่งและมุ่งมั่นเท่านั้น
เพราะการปลีกวิเวกและมุ่งสันโดด
ทำให้นักรบทั้งหลายไม่ต้องฝึกอายตนะ
ที่เป็นตา หู ปาก-ลิ้น และจมูกให้ยุ่งยาก
แค่อยู่คนเดียวก็แทบจะหมดปัญหา
ที่จะเกิดการถูกเย้ายวนยั่วยุให้จิตตกได้แล้ว
แต่มันยังมีอายตนะภายนอกอีกสิ่งหนึ่ง
ขณะนั่งเฉยๆมันฝึกทักษะแห่งผัสสะไม่ได้
หรือฝึกได้แต่ไม่ค่อยจะดีเท่าใดนัก
นั่นคือ "สัมผัสกาย"
การเลือกใช้ "ฝ่าเท้า" ที่ก้าวย่ำไปตามทาง
เพื่อฝึกทักษะแห่งผัสสะทางกาย
จึงเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งยวดแล้ว
เพราะสามารถฝึกการรับรู้แล้วไม่รับเอาได้เป็นอย่างดี
โดยรับรู้ว่าร้อนเมื่อก้าวย่ำไปตามทางหินทราย
แต่ไม่นำพาร้อนกายที่ฝ่าเท้าเอามาสู่ "ร้อนใจ"
อันหมายถึงการไม่นำพาทุกข์กายไปสู่ "ทุกข์ใจ"
ซึ่งเป็นการฝึกแยกกายออกจากจิตใจนั่นเอง
นอกจากนั้น
สองฝ่าเท้าที่ก้าวย่ำไปตามทางกรวดหรือลูกรัง
นอกจากจะร้อนผ่าวสำหรับสองเท้าเปลือยๆแล้ว
ก้อนกรวด ก้อนหิน และเม็ดทราย
มันยังมีความแหลมคมพร้อมทิ่มตำฝ่าเท้าอีกด้วย
การก้าวย่ำทิ้งน้ำหนักเต็มฝ่าเท้า
การก้าวยาวๆอย่างร้อนรนไม่ระมัดระวัง
ในลักษณาการขาดสติและไม่สำรวมของจิต
ก็รังแต่จะสร้างความเจ็บปวดเพราะบาดเจ็บ
ในทุกก้าวย่ำไปตามทางนั้นเสมอ
ท่านจึงต้องครองสติอยู่กับปัจจุบัน
ก้าวย่างเหยาะมันไปเบาๆและสำรวมระวัง
ก็จะลดอาการทุกข์ที่ฝ่าเท้าลงไปได้อีกโข
ถ้าท่านปฏิบัติอยู่เป็นเนืองนิจ
มันก็จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้
จิตของท่านละเอียดสุขุมและสงบยิ่งขึ้นได้
พี่ๆน้องๆที่รักแห่งเราทั้งหลาย
ไม่ว่ากุศโลบายแห่งพระพุทธองค์
สำหรับนักรบแห่งแสงสว่าง
ที่ใช้ในการอบรมจิตนักบวชในชีวิตประจำวัน
หรือ การอบรมจิตตปัญญา
ตามมรรควิถีแห่งจิตจักรวาล
สำหรับนักสู้เพื่อการรู้แจ้งหรือ "ฆราวาส" นั้น
แม้วิธีการประพฤติปฏิบัติจะแตกต่าง
โดยปฏิบัติได้ขณะใช้ชีวิตอยู่ในสังคม
แต่จุดหมายปลายทางนั้นเป็นจุดเดียวกัน
คือ การหลุดพ้นทางจิตวิญญาณเช่นกัน
ขอท่านทั้งหลายจงเจริญด้วยจิตตปัญญา
เข้าถึงความจริงที่เรากล่าวนี้เถิด
หมายเหตุ:
ท่าน "อัคคธีโร ภิกขุ"
(ฉายาที่สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20
ทรงเมตตาประทานให้)
เมตตาให้ช่างภาพ
บันทึกภาพต้นแบบนี้เพื่อสอนธรรมะได้
จึงขอกราบขอบพระคุณ
พระคุณเจ้ามา ณ ที่นี้
เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
12-05-2017