06 กรกฎาคม 2559

กระตุ้นพลังแห่งการเรียนรู้












คลิปภาพ : วัตถุบนท้องฟ้า

เราจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
หน้าที่สำคัญของมนุษย์โลกเสรีเช่นท่านนั้น
ทุกลมหายใจเข้าออกในทุกจังหวะการเต้นของหัวใจ
ก็คือ "การเรียนรู้" นั่นเอง

โดยท่านทั้งหลาย
จะต้องใช้กลไกอายตนะภายนอกทั้งห้า
ทำงานร่วมกันกับจิตและสมอง
เพื่อการเรียนรู้สรรพสิ่งและสถานการณ์รายรอบตัวท่าน
ตลอดวันยันค่ำจากยามตื่นจนกว่าจะถึงยามหลับ
เป้าหมายหลักก็คือเรียนรู้ว่า "อะไรเป็นอะไร"
ท่านจึงต้องมีความสามารถในการใช้อายตนะที่มีอยู่
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสัมผัสรู้ดูเห็น
ทั้งยังจะต้องมีความสามารถทางจิตตปัญญา
ในการเข้าถึงองค์ความรู้บางสิ่ง
ที่กลไกอายตนะทั้งห้าของท่านสัมผัสรู้ดูเห็นไม่ได้
ซึ่งจิตตปัญญานี่แหละเปรียบดั่งตาที่สามล่ะนะ
นอกจากนั้นเมื่อท่านมีความรู้นั้นๆแล้ว
ท่านก็จงอย่าปิดกั้นตนเองไม่เรียนรู้เรื่องนั้นต่อไปอีก
โดยไปหลงยึดติดความรู้นั้นไว้

เพราะท่านอาจเป็นตาบอดคลำช้างกับเขาก็ได้
เนื่องจากช้างทั้งตัวมันมีอวัยวะหลายส่วน
มันมีหลายด้านหลายมุมให้เลือกมองเพื่อเรียนรู้
ท่านจะรู้ว่า "ช้าง" มีรูปลักษณ์อย่างไร
ท่านจึงมองมุมเดียวไม่ได้ฉันใดก็ฉันนั้น
เมื่อท่านผ่านการเรียนรู้มามาก
สั่งสมประสบการณ์ความรู้มาเยอะ
เรียนรู้โลกมายาวนานระดับหนึ่ง

ท่านก็จงอย่า "หลงตัวเอง" ว่าเป็นเลิศดั่งน้ำเต็มแก้ว
โดยไม่คิดว่าจะมีอะไรให้ตนต้องเรียนรู้อีกแล้ว
ทั้งเชื่อมั่นว่าความรู้ที่รู้อยู่มันถูกต้องที่สุดแล้ว

สิ่งใดที่ท่านไม่เคยเรียนรู้มาก่อนแบบความรู้ใหม่
ท่านก็จงอย่าปฏิเสธว่าไม่มี ไม่จริง ไม่เชื่อ ไม่ใช่
เพราะความรู้ทั้งหลายในจักรวาลนี้
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ความรู้ที่ท่านเคยอยากรู้ และเรียนรู้มาบ้างแล้ว
2.ความรู้ที่ท่านกำลังอยากรู้อยู่ แต่ยังไม่รู้
3.ความรู้ที่ท่านไม่รู้ว่า ทำไมจะต้องรู้
4.ความรู้ที่ท่านไม่เคยรู้ว่า ท่านน่ะไม่รู้

หากท่านไม่หลงตัวเอง
ท่านจะพบว่ารายรอบตัวท่านในแต่ละวัน
มันเต็มไปด้วยความรู้ 4 ประเภทนี้ทั้งนั้นแหละ
เราจึงจะกล่าวความจริงต่อท่านทั้งหลายว่า
ท่านจะหยุดการเรียนรู้ไม่ได้หรอก

อันคำกล่าวที่ว่า
"สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น"
"สิบตาเห็นไม่เท่าเอามือคลำดู"

สองประโยคนี้สอนท่านให้เรียนรู้ด้วยอายตนะ
แต่เราจะกล่าวต่อท่านทั้งหลายว่า

ท่านจะต้องใช้ "จิตตปัญญา" ของจิตกับสมอง
เพื่อการเรียนรู้สรรพสิ่งในโลกกว้างนี้ด้วย
เพราะว่า "บางสิ่ง" ที่ท่านมองไม่เห็น
"บางสิ่ง" ที่ท่านทั้งไม่เห็น และไม่ได้ยินเสียง
"บางสิ่ง" ที่ทั้งไม่เห็น ไม่มีเสียง และสัมผัสไม่ได้
คนส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธว่าไม่มี
ขณะที่บางสิ่งก็ปรากฏให้เห็นกับตาอยู่โทนโท่
แต่ก็กลับไม่เชื่อสายตาของตัวเองก็มี

ดังนั้น
คนฉลาดจึงต้องไม่ปฏิเสธการเรียนรู้
คนฉลาดจึงต้องฉลาดในการเรียนรู้
คนที่ฉลาดในการเรียนรู้
จึงต้องฉลาดใช้อายตนะและจิตตปัญญา
โดยไม่หลงตัวเองว่าเลิศล้ำแล้วเด็ดขาด
ลองใช้คลิปพิเศษนี้ให้เกิดประโยชน์

เพื่อการเรียนรู้ของท่านสิ
ภาพในคลิปคงจะกระตุ้นพลังแห่งการเรียนรู้
ของท่านทั้งหลายได้บ้างไม่มากก็น้อย

เอเมน สาธุ
ป.วิสุทธิปัญญา
6-07-2016